หมวด ตน
อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ.
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน. ที่มาของสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภิ.
ผู้มีตนฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง ซึ่งได้โดยยาก. ที่มาสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
หมวด ความไม่ประมาท
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ.
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย. ที่มาสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.
บัณฑิตย่อมสรรเสริญ ความไม่ประมาท. ที่มาสุภาษิต สังยุตฺตนิกาย สคาถวรรค
หมวด กรรม
กมฺมุนา วตฺตติ โลโก.
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม. ที่มาสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ.
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว. ที่มาสุภาษิต สังยุตฺตนิกาย สคาถวรรค
หมวด กิเลส
โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.
ความโลภเป้นอันตราย แห่งธรรมทั้งหลาย. ที่มาสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย สคาถวรรค
อิจฺฉา นรํ ปริกปนฺโถ.
ความอยากย่อมชักพาคนไปต่างๆ. ที่มาสุภาษิต สังยุตฺตนิกาย สคาถวรรค
หมวด ความโกรธ
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ.
ฆ่าความโกรธได้ย่อมอยู่เป็นสุข. ที่มาสุภาษิต สังยุตฺตนิกาย สคาถวรรค
โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท.
พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ. ที่มาสุภาษิต อังคุตฺตรนิกาย สัตตกนิบาต
หมวด ความอดทน
ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา.
ขันติคือความอดทนเป็นตบะ อย่างยิ่ง. ที่มาสุภาษิต ทีฆนิกาย มหาวรรค ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
ขนฺติ หิตสุขาวหา.
ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข. ที่มาสุภาษิต สวดมนต์ ฉบับหลวง
หมวด จิต
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้. ที่มาสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา.
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง. ที่มาสุภาษิต มัชฌิมนิกาย มูลปณฺณาสก์
หมวด ชัยชนะ
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ.
การให้ธรรมะ ย่อมชนะการให้ทั้งปวง. ที่มาสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง. ที่มาสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
หมวด ทาน
วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺตํ.
การเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญ. ที่มาสุภาษิต สังยุตฺตนิกาย สคาถวรรค
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ.
คนพาลเท่านั้น ไม่สรรเสริญทาน. ที่มาสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
หมวด ทุกข์
อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก.
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก. ที่มาสุภาษิต อังคุตฺตรนิกาย ฉักกนิบาต
ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา.
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ ที่มาสุภาษิต ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท
ธรรมศึกษา
วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก ๒๕๕๒
ธรรมศึกษาปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก ๒๕๕๒
วันจันทร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒
1.ธรรมวิจารณ์ หมายถึงอะไร
ก.การวิพากษ์วิจารณ์ธรรม ข.การเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม
ค.การโต้วาทีในหัวข้อธรรม ง.การวิเคราะห์ธรรม
ตอบ ข
2.คนผู้ไร้พิจารณ์หมายถึง....?
ก.ไร้การศึกษา ข.ไร้ความสามารถ
ค.ไร้ศีลธรรม ง.ไร้ปัญญาพิจารณา
ตอบ ง
3.ผู้ข้องอยู่ในโลกมีอาหารเช่นไร ?
ก.ติดในสิ่งล่อใจ ข.สนใจข่าวสารโลก
ค.อยากมีอยากเป็น ง.อยากเกิดในโลก
ตอบ ก
4.ผู้ข้องอยู่ในโลกจะได้รับผลอย่างไร ?
ก.ได้สุขฝ่ายเดียว ข.สนใจข่าวสารโลก
ค.ได้ทั้งสุขและทุกข์ ง.ไม่ได้ทั้งสุขและทุกข์
ตอบ ค
5."ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่" หมายความว่าอย่างไร ?
ก.ผู้รู้ยังยินดีอยู่ ข.ผู้ข้องอยู่จึงจะได้รู้
ค.ผู้รู้เป็นผู้ฉลาด ง.ผู้รู้โลกตามความเป็นจริง
ตอบ ง
6.ท่านเปรียบสิ่งที่มีอุปการะว่าเหมือนเภสัช เพราะเหตุใด ?
ก.ให้คุณฝ่ายเดียว ข.ให้โทษฝ่ายเดียว
ค.ให้ทั้งคุณและโทษ ง.ให้ความสะดวกสบาย
ตอบ ค
7.คำว่า "นิพพิทา" มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.ความหน่ายทำบาป ข.ความหน่ายปฏิบัติธรรม
ค.ความหน่ายที่เกิดจากกิเลส ง.ความหน่ายในกองสังขาร
ตอบ ง
8.คำว่า "มาร" มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.ล้างผลาญชีวิต ข.ล้างผลาญความดี
ค.ล้างผลาญความเจริญ ง.ล้างผลาญสติปัญญา
ตอบ ข
9."ผู้ใดรักษาจิตผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร" คำว่า มาร หมายถึง ?
ก.พญามาร ข.กิเลสมาร
ค.ขันธมาร ง.อภิสังขารมาร
ตอบ ข
10.คำว่า "บ่วงแห่งมาร" คืออะไร ?
ก.วัตถุกาม ข.กิเลสกาม
ค.กามราคะ ง.กามตัณหา
ตอบ ก
11.กามคุณ ๕ จัดเป็นบ่วงแห่งมารเพราะเหตุใด ?
ก.ทำให้ใจเศร้าหมอง ข.ทำให้ใจเดือดร้อน
ค.ทำให้ใจเบิกบาน ง.ทำให้ใจหลงติด
ตอบ ง
12.จะพ้นจากบ่วงแห่งมารได้ต้องทำอย่างไร ?
ก.ให้ทาน ข.รักษาศีล
ค.ฟังธรรม ง.สำรวมจิต/เจิรญปัญญา
ตอบ ง
13.ข้อใดไม่ใช่อาหารสำรวมจิต ?
ก.สำรวมอินทรีย์ ข.สำรวมในปาฏิโมกข์
ค.บำเพ็ญสมถะ ง.เจริญวิปัสสนา
ตอบ ก
14.สามัญญลักษณะ ได้แก่อะไร ?
ก.ลักษณะไม่เที่ยง ข.ลักษณะเป็นทุกข์
ค.ลักษณะไม่ใช่ตัวตน ง.ลักษณะเสมอกันแห่งสังขาร
ตอบ ง
15.สังขารในขันธ์ ๕ ตรงกับข้อใด ?
ก.สภาพอันธรรมดาแห่งขึ้น ข.สภาพผู้ปรุงแต่งใจ
ค.สภาพอันธาตุ ๔ แต่งขึ้น ง.สภาพที่เป็นเอง
ตอบ ข
16.ข้อใดไม่ใช่ อนิจจลักษณะ ?
ก.ว่างเปล่า ข.แปรไปในระหว่าง
ค.ไม่คงที่ ง.เกิดแล้วดับ
ตอบ ก
17.คำว่า "ปกิณณกทุกข์" ในทุกขตาได้แก่อะไร ?
ก.ชาติ ข.ชรา
ค.มรณะ ง.โสกะ
ตอบ ง
18.อะไรปิดบังไว้ จึงมองไม่เห็นอนิจจลักษณะ ?
ก.ความเข้าใจผิด ข.ความเคลื่อนไหว
ค.ความสืบต่อ ง.ความเป็นกลุ่มก้อน
ตอบ ค
19.สภาวทุกข์ได้แก่ข้อใด ?
ก.ความเจ็บปวด ข.ความแก่ชรา
ค.ความร้อนใจ ง.ความหิวกระหาย
ตอบ ข
20.นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ ได้แก่อะไร ?
ก.ชาติ ข.ชรา
ค.โสกะ ง.หิว
ตอบ ง
21.สันตาปทุกข์ เกิดจากอะไร ?
ก.เกิดเอง ข.ผลกรรม
ค.กิเลส ง.ทุกขเวทนา
ตอบ ค
22.การเห็นอนัตตาต้องมีอะไรกำกับ จึงจะไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ?
ก.ศรัทธา ข.นิพพิทาญาณ
ค.สมาธิ ง.โยนิโสมนสิการ
ตอบ ง
23.คำสอนในข้อใด ที่ศาสนาอื่นไม่มี ?
ก.บาป บุญ ข.นรก สวรรค์
ค.อนัตตา ง.ตายแล้วเกิด
ตอบ ค
24.คำว่า "วิมุตติ" หมายถึงหลุดพ้นจากอะไร ?
ก.ตัณหา ข.อาสวกิเลส
ค.อวิชา ง.อุปาทาน
ตอบ ข
25.การอ้อนวอนบวงสรวง จัดเข้าในอาสวะข้อใด ?
ก.อวิชชาสวะ ข.กามาสวะ
ค.กิเลสาสวะ ง.ภวาสวะ
ตอบ ก
26.กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิตตสันดาน เรียกว่าอะไร ?
ก.อนุสัย ข.อาสวะ
ค.โอฆะ ง.อวิชชา
ตอบ ข
27.ปฏิปทาของพระอรหันต์ผู้เจริญสมถะก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา เรียกว่าอะไร ?
ก.เจโตวิมุตติ ข.ปัญญาวิมุตติ
ค.วิกขัมภนวิมุตติ ง.สมุทเฉทวิมุตติ
ตอบ ก
28.ความบริสุทธิ์ภายใน ย่อมมีได้ด้วยอะไร ?
ก.ทาน ข.ศีล
ค.สมาธิ ง.ปัญญา
ตอบ ง
29.สัมมาวายามะ ในมรรค 8 สงเคราะห์เข้าในวิสุทธิข้อใด ?
ก.สีลวิสุทธิ ข.จิตตวิสุทธิ
ค.ทิฏฐิวิสุทธิ ง.ญาณทัสสนวิสุทธิ
ตอบ ข
30.การพิจารณาเห็นสังขารโดยไตรลักษณ์ จัดเป็นวิสุทธิอะไร ?
ก.สีลวิสุทธิ ข.จิตตวิสุทธิ
ค.ทิฏฐิวิสุทธิ ง.ญาณทัสสนวิสุทธิ
ตอบ ง
31.ผู้เว้นจากการเบียดเบียนทางกาย วาจา ใจ ชื่อว่ามีธรรมใดอยู่ภายใน ?
ก.วิมุตติ ข.วิสุทธิ
ค.วิราคะ ง.สันติ
ตอบ ง
32.ธรรมใดส่งเสริมให้สังคมเกิดสันติสุข ?
ก.สุจริต ข.บุญกิริยาวัตถุ
ค.อคติ ง.พรหมวิหาร
ตอบ ก
33.โลกามิส ได้แก่อะไร ?
ก.กามคุณ ข.กามตัณหา
ค.กามราคะ ง.กิเลสกาม
ตอบ ก
34.จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คืออะไร ?
ก.สวรรค์ ข.พรหมโลก
ค.นิพพาน ง.ดับสูญ
ตอบ ค
35.หาเครื่องเสียบแทงมิได้ เป็นความหมายของข้อใด ?
ก.วิราคะ ข.นิพพิทา
ค.วิมุตติ ง.นิพพาน
ตอบ ง
36.ภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรืออันเธอวิดแล้ว จักพลันถึง เรือในที่นี้หมายถึงอะไร ?
ก.วัตถุ ข.สัตว์
ค.อัตตภาพ ง.กิเลส
ตอบ ค
37.กัมมัฏฐาน คืออะไร ?
ก.อุบายชำระจิต ข.อุบายกำจัดกิเลส
ค.อุบายสงบใจ ง.อุบายเรืองปัญญา
ตอบ ก
38.ความมีจิตแน่วแน่ เรียกว่าอะไร ?
ก.สมาบัติ ข.สมาธิ
ค.ฌาน ง.กัมมัฏฐาน
ตอบ ข
39.จิตเป็นสมาธิ ต้องเป็นจิตสงบจากอะไร ?
ก.กิเลสตัณหา ข.อาสวะกิเลส
ค.อกุศลวิตก ง.นิวรณ์
ตอบ ง
40.คนราคะจริต ควรเจรืญกัมฐานข้อใด ?
ก.เมตตา ข.กรุณา
ค.อสุภะ ง.อนุสสติ
ตอบ ค
41.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง ?
ก.อสุภะแก้โทสจริต ข.เมตตาแก้สัทธาจริต
ค.ศรัทธาแก้วิตกจริต ง.อานาปานสติแก้โมหจริต
ตอบ ง
42.คนประเภทใด ปฏิบัติกัมมัฏฐานไม่ได้ผล ?
ก.คนหลงสติ ข.คนหนุ่มสาว
ค.เด็กนักเรียน ง.คนเจ็บป่วย
ตอบ ก
43.ทรงเป็นผู้ฝึกฝนได้อย่างยอดเยี่ยม ตรงกับพุทธคุณข้อใด ?
ก.สมฺมาสมฺพุทฺโธ ข.วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ค.อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ง.สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
ตอบ ค
44.พุทธคุณข้อใด จัดเป็นพระวิสุทธิคุณ ?
ก.อรหํ ข.สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ค.ภควา ง.วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ตอบ ก
45.ตจปัญจกกัมมัฏฐาน มีวิธีพิจารณาโดยอาการอย่างไร ?
ก.โดยเป็นของน่ารัก ข.โดยเป็นของโสโครก
ค.โดยเป็นของไม่เที่ยง ง.โดยความมิใช่ตัวตน
ตอบ ข
46.คนนอนฝันร้าย ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.เมตตา ข.กายคตาสติ
ค.กสิณ ง.จตุธาตุววัตถาน
ตอบ ก
47.คนละโมบในอาหาร แก้ด้วยกัมมัฏฐานชนิดใด ?
ก.อสุภกัมมัฏฐาน ข.มรณัสสติ
ค.อนุสสติกัมมัฏฐาน ง.อาหาเรปฏิกูลสัญญา
ตอบ ง
48.คำว่า วิปัสสนา มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.เห็นแจ้งรูปนาม ข.เห็นแจ้งนิพพาน
ค.เห็นแจ้งสังขาร ง.เห็นแจ้งอวิชชา
ตอบ ก
49.อะไรเป็นเหตุให้ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผล ?
ก.วิปัลลาส ข.วิปัสสนูปกิเลส
ค.อุปกิเลส ง.นิวรณ์
ตอบ ข
50.ผลสูงสุดของวิปัสสนา คืออะไร ?
ก.เห็นสังขารเกิดดับ ข.เห็นสังขารตามเป็นจริง
ค.เห็นสังขารเป็นทุกข์ ง.เห็นสังขารเป็นอนัตตา
ตอบ ข
เฉลยโดยแม่กองธรรมสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒
1.ธรรมวิจารณ์ หมายถึงอะไร
ก.การวิพากษ์วิจารณ์ธรรม ข.การเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม
ค.การโต้วาทีในหัวข้อธรรม ง.การวิเคราะห์ธรรม
ตอบ ข
2.คนผู้ไร้พิจารณ์หมายถึง....?
ก.ไร้การศึกษา ข.ไร้ความสามารถ
ค.ไร้ศีลธรรม ง.ไร้ปัญญาพิจารณา
ตอบ ง
3.ผู้ข้องอยู่ในโลกมีอาหารเช่นไร ?
ก.ติดในสิ่งล่อใจ ข.สนใจข่าวสารโลก
ค.อยากมีอยากเป็น ง.อยากเกิดในโลก
ตอบ ก
4.ผู้ข้องอยู่ในโลกจะได้รับผลอย่างไร ?
ก.ได้สุขฝ่ายเดียว ข.สนใจข่าวสารโลก
ค.ได้ทั้งสุขและทุกข์ ง.ไม่ได้ทั้งสุขและทุกข์
ตอบ ค
5."ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่" หมายความว่าอย่างไร ?
ก.ผู้รู้ยังยินดีอยู่ ข.ผู้ข้องอยู่จึงจะได้รู้
ค.ผู้รู้เป็นผู้ฉลาด ง.ผู้รู้โลกตามความเป็นจริง
ตอบ ง
6.ท่านเปรียบสิ่งที่มีอุปการะว่าเหมือนเภสัช เพราะเหตุใด ?
ก.ให้คุณฝ่ายเดียว ข.ให้โทษฝ่ายเดียว
ค.ให้ทั้งคุณและโทษ ง.ให้ความสะดวกสบาย
ตอบ ค
7.คำว่า "นิพพิทา" มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.ความหน่ายทำบาป ข.ความหน่ายปฏิบัติธรรม
ค.ความหน่ายที่เกิดจากกิเลส ง.ความหน่ายในกองสังขาร
ตอบ ง
8.คำว่า "มาร" มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.ล้างผลาญชีวิต ข.ล้างผลาญความดี
ค.ล้างผลาญความเจริญ ง.ล้างผลาญสติปัญญา
ตอบ ข
9."ผู้ใดรักษาจิตผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร" คำว่า มาร หมายถึง ?
ก.พญามาร ข.กิเลสมาร
ค.ขันธมาร ง.อภิสังขารมาร
ตอบ ข
10.คำว่า "บ่วงแห่งมาร" คืออะไร ?
ก.วัตถุกาม ข.กิเลสกาม
ค.กามราคะ ง.กามตัณหา
ตอบ ก
11.กามคุณ ๕ จัดเป็นบ่วงแห่งมารเพราะเหตุใด ?
ก.ทำให้ใจเศร้าหมอง ข.ทำให้ใจเดือดร้อน
ค.ทำให้ใจเบิกบาน ง.ทำให้ใจหลงติด
ตอบ ง
12.จะพ้นจากบ่วงแห่งมารได้ต้องทำอย่างไร ?
ก.ให้ทาน ข.รักษาศีล
ค.ฟังธรรม ง.สำรวมจิต/เจิรญปัญญา
ตอบ ง
13.ข้อใดไม่ใช่อาหารสำรวมจิต ?
ก.สำรวมอินทรีย์ ข.สำรวมในปาฏิโมกข์
ค.บำเพ็ญสมถะ ง.เจริญวิปัสสนา
ตอบ ก
14.สามัญญลักษณะ ได้แก่อะไร ?
ก.ลักษณะไม่เที่ยง ข.ลักษณะเป็นทุกข์
ค.ลักษณะไม่ใช่ตัวตน ง.ลักษณะเสมอกันแห่งสังขาร
ตอบ ง
15.สังขารในขันธ์ ๕ ตรงกับข้อใด ?
ก.สภาพอันธรรมดาแห่งขึ้น ข.สภาพผู้ปรุงแต่งใจ
ค.สภาพอันธาตุ ๔ แต่งขึ้น ง.สภาพที่เป็นเอง
ตอบ ข
16.ข้อใดไม่ใช่ อนิจจลักษณะ ?
ก.ว่างเปล่า ข.แปรไปในระหว่าง
ค.ไม่คงที่ ง.เกิดแล้วดับ
ตอบ ก
17.คำว่า "ปกิณณกทุกข์" ในทุกขตาได้แก่อะไร ?
ก.ชาติ ข.ชรา
ค.มรณะ ง.โสกะ
ตอบ ง
18.อะไรปิดบังไว้ จึงมองไม่เห็นอนิจจลักษณะ ?
ก.ความเข้าใจผิด ข.ความเคลื่อนไหว
ค.ความสืบต่อ ง.ความเป็นกลุ่มก้อน
ตอบ ค
19.สภาวทุกข์ได้แก่ข้อใด ?
ก.ความเจ็บปวด ข.ความแก่ชรา
ค.ความร้อนใจ ง.ความหิวกระหาย
ตอบ ข
20.นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ ได้แก่อะไร ?
ก.ชาติ ข.ชรา
ค.โสกะ ง.หิว
ตอบ ง
21.สันตาปทุกข์ เกิดจากอะไร ?
ก.เกิดเอง ข.ผลกรรม
ค.กิเลส ง.ทุกขเวทนา
ตอบ ค
22.การเห็นอนัตตาต้องมีอะไรกำกับ จึงจะไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ?
ก.ศรัทธา ข.นิพพิทาญาณ
ค.สมาธิ ง.โยนิโสมนสิการ
ตอบ ง
23.คำสอนในข้อใด ที่ศาสนาอื่นไม่มี ?
ก.บาป บุญ ข.นรก สวรรค์
ค.อนัตตา ง.ตายแล้วเกิด
ตอบ ค
24.คำว่า "วิมุตติ" หมายถึงหลุดพ้นจากอะไร ?
ก.ตัณหา ข.อาสวกิเลส
ค.อวิชา ง.อุปาทาน
ตอบ ข
25.การอ้อนวอนบวงสรวง จัดเข้าในอาสวะข้อใด ?
ก.อวิชชาสวะ ข.กามาสวะ
ค.กิเลสาสวะ ง.ภวาสวะ
ตอบ ก
26.กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิตตสันดาน เรียกว่าอะไร ?
ก.อนุสัย ข.อาสวะ
ค.โอฆะ ง.อวิชชา
ตอบ ข
27.ปฏิปทาของพระอรหันต์ผู้เจริญสมถะก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา เรียกว่าอะไร ?
ก.เจโตวิมุตติ ข.ปัญญาวิมุตติ
ค.วิกขัมภนวิมุตติ ง.สมุทเฉทวิมุตติ
ตอบ ก
28.ความบริสุทธิ์ภายใน ย่อมมีได้ด้วยอะไร ?
ก.ทาน ข.ศีล
ค.สมาธิ ง.ปัญญา
ตอบ ง
29.สัมมาวายามะ ในมรรค 8 สงเคราะห์เข้าในวิสุทธิข้อใด ?
ก.สีลวิสุทธิ ข.จิตตวิสุทธิ
ค.ทิฏฐิวิสุทธิ ง.ญาณทัสสนวิสุทธิ
ตอบ ข
30.การพิจารณาเห็นสังขารโดยไตรลักษณ์ จัดเป็นวิสุทธิอะไร ?
ก.สีลวิสุทธิ ข.จิตตวิสุทธิ
ค.ทิฏฐิวิสุทธิ ง.ญาณทัสสนวิสุทธิ
ตอบ ง
31.ผู้เว้นจากการเบียดเบียนทางกาย วาจา ใจ ชื่อว่ามีธรรมใดอยู่ภายใน ?
ก.วิมุตติ ข.วิสุทธิ
ค.วิราคะ ง.สันติ
ตอบ ง
32.ธรรมใดส่งเสริมให้สังคมเกิดสันติสุข ?
ก.สุจริต ข.บุญกิริยาวัตถุ
ค.อคติ ง.พรหมวิหาร
ตอบ ก
33.โลกามิส ได้แก่อะไร ?
ก.กามคุณ ข.กามตัณหา
ค.กามราคะ ง.กิเลสกาม
ตอบ ก
34.จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คืออะไร ?
ก.สวรรค์ ข.พรหมโลก
ค.นิพพาน ง.ดับสูญ
ตอบ ค
35.หาเครื่องเสียบแทงมิได้ เป็นความหมายของข้อใด ?
ก.วิราคะ ข.นิพพิทา
ค.วิมุตติ ง.นิพพาน
ตอบ ง
36.ภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรืออันเธอวิดแล้ว จักพลันถึง เรือในที่นี้หมายถึงอะไร ?
ก.วัตถุ ข.สัตว์
ค.อัตตภาพ ง.กิเลส
ตอบ ค
37.กัมมัฏฐาน คืออะไร ?
ก.อุบายชำระจิต ข.อุบายกำจัดกิเลส
ค.อุบายสงบใจ ง.อุบายเรืองปัญญา
ตอบ ก
38.ความมีจิตแน่วแน่ เรียกว่าอะไร ?
ก.สมาบัติ ข.สมาธิ
ค.ฌาน ง.กัมมัฏฐาน
ตอบ ข
39.จิตเป็นสมาธิ ต้องเป็นจิตสงบจากอะไร ?
ก.กิเลสตัณหา ข.อาสวะกิเลส
ค.อกุศลวิตก ง.นิวรณ์
ตอบ ง
40.คนราคะจริต ควรเจรืญกัมฐานข้อใด ?
ก.เมตตา ข.กรุณา
ค.อสุภะ ง.อนุสสติ
ตอบ ค
41.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง ?
ก.อสุภะแก้โทสจริต ข.เมตตาแก้สัทธาจริต
ค.ศรัทธาแก้วิตกจริต ง.อานาปานสติแก้โมหจริต
ตอบ ง
42.คนประเภทใด ปฏิบัติกัมมัฏฐานไม่ได้ผล ?
ก.คนหลงสติ ข.คนหนุ่มสาว
ค.เด็กนักเรียน ง.คนเจ็บป่วย
ตอบ ก
43.ทรงเป็นผู้ฝึกฝนได้อย่างยอดเยี่ยม ตรงกับพุทธคุณข้อใด ?
ก.สมฺมาสมฺพุทฺโธ ข.วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ค.อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ง.สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
ตอบ ค
44.พุทธคุณข้อใด จัดเป็นพระวิสุทธิคุณ ?
ก.อรหํ ข.สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ค.ภควา ง.วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ตอบ ก
45.ตจปัญจกกัมมัฏฐาน มีวิธีพิจารณาโดยอาการอย่างไร ?
ก.โดยเป็นของน่ารัก ข.โดยเป็นของโสโครก
ค.โดยเป็นของไม่เที่ยง ง.โดยความมิใช่ตัวตน
ตอบ ข
46.คนนอนฝันร้าย ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?
ก.เมตตา ข.กายคตาสติ
ค.กสิณ ง.จตุธาตุววัตถาน
ตอบ ก
47.คนละโมบในอาหาร แก้ด้วยกัมมัฏฐานชนิดใด ?
ก.อสุภกัมมัฏฐาน ข.มรณัสสติ
ค.อนุสสติกัมมัฏฐาน ง.อาหาเรปฏิกูลสัญญา
ตอบ ง
48.คำว่า วิปัสสนา มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.เห็นแจ้งรูปนาม ข.เห็นแจ้งนิพพาน
ค.เห็นแจ้งสังขาร ง.เห็นแจ้งอวิชชา
ตอบ ก
49.อะไรเป็นเหตุให้ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผล ?
ก.วิปัลลาส ข.วิปัสสนูปกิเลส
ค.อุปกิเลส ง.นิวรณ์
ตอบ ข
50.ผลสูงสุดของวิปัสสนา คืออะไร ?
ก.เห็นสังขารเกิดดับ ข.เห็นสังขารตามเป็นจริง
ค.เห็นสังขารเป็นทุกข์ ง.เห็นสังขารเป็นอนัตตา
ตอบ ข
เฉลยโดยแม่กองธรรมสนามหลวง
ปัญหาและเฉลยวิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก 2553
ปัญหาและเฉลยวิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก 2553
วันศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
1.พระพุทธศาสนาสอนว่า สุขทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายเกิดจากอะไร ?
ก.อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ข.อำนาจพุทธานุภาพ
ค.อำนาจแห่งเทพเจ้า ง.อำนาจวิบากกรรม
ตอบ ง
2.คำว่า กรรมบถ หมายถึง กรรมนำสัตว์ให้ไปเกิดในสถานที่ใด ?
ก.สุคติทุคติ ข.มนุษยโลก
ค.เทวโลก ง.พรหมโลก
ตอบ ก
3.กุศลกรรมบถนำสัตว์ให้ไปเกิดในกำเนิดที่ดี ตรงกับข้อใด ?
ก.สัตว์นรก ข.มนุษย์
ค.อสุรกาย ง.เปรต
ตอบ ข
4.อกุศลกรรมบถนำสัตว์ให้ไปเกิดในกำเนิดที่เลว ตรงกับข้อใด ?
ก.สัตว์ดิรัจฉาน ข.มนุษย์
ค.เทวดา ง.พรหม
ตอบ ก
5.กรรมบถ 10 ประการ จัดเป็นกรรม 3 อย่าง ยกเว้นข้อใด ?
ก.กายกรรม ข.วจีกรรม
ค.บุญกรรม ง.มโนกรรม
ตอบ ค
6.โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุให้บุคคลกระทำกรรมใด ?
ก.บุญกรรม ข.อกุศลกรรม
ค.กุศลกรรม ง.อโหสิกรรม
ตอบ ข
7.การกระทำจะสำเร็จเป็นกรรมบถได้ ต้องประกอบด้วยอะไร ?
ก.ตัณหา ข.อภิชฌา
ค.เจตนา ง.อารมณ์
ตอบ ค
8.ข้อใด ไม่จัดเข้าในอกุศลกรรมบถ 10 ประการ ?
ก.ปาณาติบาต ข.สัมมาทิฏฐิ
ค.พยาบาท ง.มิจฉาทิฏฐิ
ตอบ ข
9.อะไรเป็นมูลเหตุให้บุคคลประพฤติกุศลกรรมบถ 10 ประการ ?
ก.กุศลมูล 3 ข.สุจริต 3
ค.กุศลมูล 3 ง.ทุจริต 3
ตอบ ค
10.กรรมที่เกิดขึ้นจากการกระทำทางกาย เรียกว่าอะไร ?
ก.กายกรรม ข.วจีกรรม
ค.มโนกรรม ง.ครุกรรม
ตอบ ก
11.ข้อใด ไม่จัดเข้าในกายกรรมฝ่ายกุศล ?
ก.ปาณาติบาต ข.อทินนาทาน
ค.กาเมสุมิจฉาจาร ง.สัมผัปปลาปะ
ตอบ ง
12.ปาณาติบาต โดยมากเกิดขึ้นทางทวารใด ?
ก.กายทวาร ข.วจีทวาร
ค.มโนทวาร ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ก
13.เมื่อว่าโดยอารมณ์ ปาณาติบาตมีอะไรเป็นอารมณ์ ?
ก.รูปสมาบัติ ข.รูปชีวิตินทรีย์
ค.อรูปสมาบัติ ง.อรุปชีวิตตินทรีย์
ตอบ ข
14.ข้อใด ไม่จัดเป็นอรูปชีวิตินทรีย์ ?
ก.รูป ข.เวทนา
ค.สัญญา ง.สังขาร
ตอบ ก
15.ปาณาติบาตที่เกิดขึ้นทางวจีทวาร ตรงกับข้อใด ?
ก.คิดจะฆ่า ข.พยายามฆ่า
ค.ฆ่าเอง ง.สั่งให้คนอื่นฆ่า
ตอบ ง
16.ปาณาติบาตมีโทษมาก เพราะผู้ฆ่ามีกิเลสรุนแรง ตรงกับข้อใด ?
ก.ฆ่าเพราะความแค้น ข.ฆ่าเพราะหิวข้าว
ค.ฆ่าเพราะเข้าใจผิด ง.ฆ่าเพราะขาดสติ
ตอบ ก
17.พยายามฆ่า เป็นองค์แห่งกุศลกรรมบถข้อใด ?
ก.พยาบาท ข.ปาณาติบาต
ค.ผรุสวาจา ง.อทินนาทาน
ตอบ ข
18.การกระทำอทินนาทาน เพราะมีโทสะเป็นมูล ตรงกับข้อใด ?
ก.สักเพราะตกทุกข์ ข.ลักเพราะตกงาน
ค.ลักเพราะแค้นใจ ง.ลักเพราะถูกยุยง
ตอบ ค
19.อทินนาทานมีโทษมาก เพราะขโมยของประเภทใด ?
ก.ของประณีต ข.ของสำคัญ
ค.ของผู้มีคุณธรรม ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ง
20.อทินนาทาน จะสำเร็จเป็นกรรมบถในขณะใด ?
ก.รู้ว่ามีเจ้าของ ข.คิดจะลัก
ค.พยายามลัก ง.ลักมาได้
ตอบ ง
21.อทินนาทานที่เกิดขึ้นทางวจีทวาร ตรงกับข้อใด ?
ก.มีจิตคิดจะลัก ข.พยายามจะลัก
ค.สั่งให้คนอื่นลัก ง.ลักด้วยตนเอง
ตอบ ค
22.รู้ว่ามีเจ้าของหวง เป็นองค์แห่งอกุศลกรรมบถข้อใด ?
ก.อทินนาทาน ข.พยาบาท
ค.กาเมสุมิจฉาจาร ง.ผรุสวาจา
ตอบ ก
23.ความผิดที่เรียกว่า กาเมสุมิจฉาจาร ตรงกับข้อใด ?
ก.ไม่เคารพพ่อแม่ ข.ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
ค.ไม่พอใจคู่ครอง ง.ไม่ทำตามกติกา
ตอบ ค
24.สทารสันโดษ หมายถึงความพึงพอใจในเรื่องใด ?
ก.ยศศักดิ์ ข.คู่ครอง
ค.การงาน ง.บริวาร
ตอบ ข
25.กาเมสุมิจฉาจารจะสำเร็จเป็นกรรมบถได้ ต้องเกิดทางทวารใด ?
ก.กายทวาร ข.วจีทวาร
ค.มโนทวาร ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ก
26.ความเสื่อมโทรมทางสังคมกรณีใด เกิดจากกาเมสุมิจฉาจาร ?
ก.ขายยาเสพติ ข.ลอบวางระเบิด
ค.ละเมิดทางเพศ ง.ทุจริตคอรับชั่น
ตอบ ค
27.มุสาวาทที่เกิดขึ้นจากคามพยายามทางกาย ตรงกับข้อใด ?
ก.แจ้งความเท็จ ข.ทำเอกสารเท็จ
ค.เป็นพยานเท็จ ง.ให้การเท็จ
ตอบ ข
28.องค์แห่งมุสาวาทข้อใด ทำให้มุสาวาทสำเร็จเป็นกรรมบถ ?
ก.เรื่องไม่จริง ข.จิตคิดจะพูด
ค.พยายามพูด ง.คนอื่นเข้าใจ
ตอบ ง
29.มุสาวาทที่สำเร็จเป็นกรรมบถ ต้องมีลักษณะเช่นไร ?
ก.คิดจะพูดเรื่องโกหก ข.คนอื่นได้ประโยชน์
ค.คนอื่นเสียประโยชน์ ง.คนพูดเสียประโยชน์
ตอบ ค
30.มุสาวาท เกิดผลกระทบโดยตรงต่อสังคมอย่างไร ?
ก.คบหาไม่สนิทใจ ข.ชีวิตไม่ปลอดภัย
ค.ทรัพย์สุญหาย ง.ไม่เอื้อเฟื้อต่อกัน
ตอบ ก
31.มุสาวาท ย่อมให้ผลในภายหน้าแก่ผู้กระทำอย่างไร ?
ก.มีอายุสั้น ข.มีชีวิตขัดสน
ค.เป็นคนบ้า ง.ไม่น่าเชื่อถือ
ตอบ ง
32.คำพูดหยาบคาย เรียกว่าอะไร ?
ก.มุสาวาท ข.ผรุสวาจา
ค.สัมผัปปลาปะ ง.ปิสุณวาจา
ตอบ ข
33.คำพูดยุยงทำให้คนอื่นเกิดความแตกแยก เรียกว่าอะไร ?
ก.มุสาวาท ข.ผรุสวาจา
ค.สัมผัปปลาปะ ง.ปิสุณวาจา
ตอบ ง
34.คำพูดไม่เกิดประโยชน์ทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟัง เรียกว่าอะไร ?
ก.มุสาวาท ข.ผรุสวาจา
ค.สัมผัปปลาปะ ง.ปิสุณวาจา
ตอบ ค
35.ปิสุณวาจา จะสำเร็จเป็นกรรมบถในขณะใด ?
ก.เมื่อคนอื่นเข้าใจ ข.เมื่อคนอื่นเกิดแตกแยก
ค.เมื่อคนอื่นถูกด่า ง.เมื่อคนอื่นเสียประโยชน์
ตอบ ข
36.คำพูดที่เป็นผรุสวาจา ผู้พูดมุ่งถึงเจตนาใด ?
ก.ประทุษร้าย ข.หลอกลวง
ค.ให้แตกแยก ง.ให้เข้าใจผิด
ตอบ ก
37.ผู้พูดกล่าวผรุสวาจาด้วยเจตนาเช่นไร จึงไม่จัดเป็นผรุสวาจา ?
ก.มีเจตนาร้าย ข.มีเจตนาหวังดี
ค.มีเจตนาโลภ ง.มีเจตนาทำลาย
ตอบ ข
38.เพราะเหตุใด คำพูดอ่อนหวาน แต่คนพูดมีเจตนามุ่งจะทำลาย จึงจัดเป็นผรุสวาจา ?
ก.มีจิตหยาบคาย ข.มีจิตเศร้าหมอง
ค.มีจิตอ่อนโยน ง.มีจิตหลอกลวง
ตอบ ก
39.คิดละโมบอยากได้ของคนอื่นเอามาเป็นของตน เรียกว่าอะไร ?
ก.อทินนาทาน ข.อนภิชฌา
ค.อภิชฌา ง.อพยาบาท
ตอบ ค
40.มิจฉาทิฏฐิ โดยสภาวะ ได้แก่กิเลสใด ?
ก.โลภะ ข.โทสะ
ค.มานะ ง.โมหะ
ตอบ ง
41. ข้อใด เป็นกรรมบถและเป็นเหตุเกิดอกุศลกรรมบถเหล่าอื่น ?
ก. ปาณาติบาต ข. อภิชฌา
ค. ปิสุณวาจา ง. มุสาวาท
คำตอบ : ข
42. จิตที่สหรคตด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นเหตุให้คนทำอกุศลกรรมใด ?
ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
ค. จองเวร ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ง
43. ความเห็นใด ปฏิเสธกรรมและผลแห่งกรรมอย่างสิ้นเชิง ?
ก. สัมมาทิฏฐิ ข. มิจฉาทิฏฐิ
ค. สักกายทิฏฐิ ง. สัสสตทิฏฐิ
คำตอบ : ข
44. กุศลกรรมบถที่เกิดขึ้นทางมโนทวารอย่างเดียว ตรงกับข้อใด ?
ก. มิจฉาทิฏฐิ ข. อภิชฌา
ค. สัมมาทิฏฐิ ง. มุสาวาท
คำตอบ : ค
45. บุคคลที่ไม่มีพยาบาทเกิดขึ้นในใจ ย่อมงดเว้นอกุศลกรรมใด ?
ก. เห็นผิด ข. ลักทรัพย์
ค. จองเวร ง. พูดโกหก
คำตอบ : ค
46. บุคคลประพฤติเช่นไร ได้ชื่อว่ามีเมตตากายกรรม ?
ก. งดคิดร้ายกัน ข. งดทำร้ายกัน
ค. งดปองร้ายกัน ง. งดให้ร้ายกัน
คำตอบ : ข
47. เห็นคนอื่นได้ดีแล้ว มีจิตพลอยอนุโมทนา จัดเป็นมโนกรรม เกิดขึ้น
ทางทวารใด ?
ก. กายทวาร ข. วจีทวาร
ค. มโนทวาร ง. ทุกทวาร
คำตอบ : ค
48. ผู้มีจิตตั้งมั่นในการเจริญพระกรรมฐาน แสดงว่ามีอุปนิสัยใด ?
ก. ทานูปนิสัย ข. สีลูปนิสัย
ค. ภาวนูปนิสัย ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ค
49. ข้อใด กล่าวเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง ?
ก. ตัดกรรมได้ ข. ถอนกรรมได้
ค. แก้กรรมได้ ง. เสวยผลกรรม
คำตอบ : ง
50. ข้อใด เป็นผลสูงสุดในการประพฤติกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ?
ก. มีจิตหลุดพ้น ข. มีจิตใจมั่นคง
ค. มีกายเรียบร้อย ง. มีปัญญารอบรู้
คำตอบ : ก
เฉลยวิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก
1. ง 11. ง 21. ค 31. ง 41. ข
2. ก 12. ก 22. ก 32. ข 42. ง
3. ข 13. ข 23. ค 33. ง 43. ข
4. ก 14. ก 24. ข 34. ค 44. ค
5. ค 15. ง 25. ก 35. ข 45. ค
6. ข 16. ก 26. ค 36. ก 46. ข
7. ค 17. ข 27. ข 37. ข 47. ค
8. ข 18. ค 28. ง 38. ก 48. ค
9. ค 19. ง 29. ค 39. ค 49. ง
10. ก 20. ง 30. ก 40. ง 50. ก
ธรรมศึกษา
วันศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
1.พระพุทธศาสนาสอนว่า สุขทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายเกิดจากอะไร ?
ก.อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ข.อำนาจพุทธานุภาพ
ค.อำนาจแห่งเทพเจ้า ง.อำนาจวิบากกรรม
ตอบ ง
2.คำว่า กรรมบถ หมายถึง กรรมนำสัตว์ให้ไปเกิดในสถานที่ใด ?
ก.สุคติทุคติ ข.มนุษยโลก
ค.เทวโลก ง.พรหมโลก
ตอบ ก
3.กุศลกรรมบถนำสัตว์ให้ไปเกิดในกำเนิดที่ดี ตรงกับข้อใด ?
ก.สัตว์นรก ข.มนุษย์
ค.อสุรกาย ง.เปรต
ตอบ ข
4.อกุศลกรรมบถนำสัตว์ให้ไปเกิดในกำเนิดที่เลว ตรงกับข้อใด ?
ก.สัตว์ดิรัจฉาน ข.มนุษย์
ค.เทวดา ง.พรหม
ตอบ ก
5.กรรมบถ 10 ประการ จัดเป็นกรรม 3 อย่าง ยกเว้นข้อใด ?
ก.กายกรรม ข.วจีกรรม
ค.บุญกรรม ง.มโนกรรม
ตอบ ค
6.โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุให้บุคคลกระทำกรรมใด ?
ก.บุญกรรม ข.อกุศลกรรม
ค.กุศลกรรม ง.อโหสิกรรม
ตอบ ข
7.การกระทำจะสำเร็จเป็นกรรมบถได้ ต้องประกอบด้วยอะไร ?
ก.ตัณหา ข.อภิชฌา
ค.เจตนา ง.อารมณ์
ตอบ ค
8.ข้อใด ไม่จัดเข้าในอกุศลกรรมบถ 10 ประการ ?
ก.ปาณาติบาต ข.สัมมาทิฏฐิ
ค.พยาบาท ง.มิจฉาทิฏฐิ
ตอบ ข
9.อะไรเป็นมูลเหตุให้บุคคลประพฤติกุศลกรรมบถ 10 ประการ ?
ก.กุศลมูล 3 ข.สุจริต 3
ค.กุศลมูล 3 ง.ทุจริต 3
ตอบ ค
10.กรรมที่เกิดขึ้นจากการกระทำทางกาย เรียกว่าอะไร ?
ก.กายกรรม ข.วจีกรรม
ค.มโนกรรม ง.ครุกรรม
ตอบ ก
11.ข้อใด ไม่จัดเข้าในกายกรรมฝ่ายกุศล ?
ก.ปาณาติบาต ข.อทินนาทาน
ค.กาเมสุมิจฉาจาร ง.สัมผัปปลาปะ
ตอบ ง
12.ปาณาติบาต โดยมากเกิดขึ้นทางทวารใด ?
ก.กายทวาร ข.วจีทวาร
ค.มโนทวาร ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ก
13.เมื่อว่าโดยอารมณ์ ปาณาติบาตมีอะไรเป็นอารมณ์ ?
ก.รูปสมาบัติ ข.รูปชีวิตินทรีย์
ค.อรูปสมาบัติ ง.อรุปชีวิตตินทรีย์
ตอบ ข
14.ข้อใด ไม่จัดเป็นอรูปชีวิตินทรีย์ ?
ก.รูป ข.เวทนา
ค.สัญญา ง.สังขาร
ตอบ ก
15.ปาณาติบาตที่เกิดขึ้นทางวจีทวาร ตรงกับข้อใด ?
ก.คิดจะฆ่า ข.พยายามฆ่า
ค.ฆ่าเอง ง.สั่งให้คนอื่นฆ่า
ตอบ ง
16.ปาณาติบาตมีโทษมาก เพราะผู้ฆ่ามีกิเลสรุนแรง ตรงกับข้อใด ?
ก.ฆ่าเพราะความแค้น ข.ฆ่าเพราะหิวข้าว
ค.ฆ่าเพราะเข้าใจผิด ง.ฆ่าเพราะขาดสติ
ตอบ ก
17.พยายามฆ่า เป็นองค์แห่งกุศลกรรมบถข้อใด ?
ก.พยาบาท ข.ปาณาติบาต
ค.ผรุสวาจา ง.อทินนาทาน
ตอบ ข
18.การกระทำอทินนาทาน เพราะมีโทสะเป็นมูล ตรงกับข้อใด ?
ก.สักเพราะตกทุกข์ ข.ลักเพราะตกงาน
ค.ลักเพราะแค้นใจ ง.ลักเพราะถูกยุยง
ตอบ ค
19.อทินนาทานมีโทษมาก เพราะขโมยของประเภทใด ?
ก.ของประณีต ข.ของสำคัญ
ค.ของผู้มีคุณธรรม ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ง
20.อทินนาทาน จะสำเร็จเป็นกรรมบถในขณะใด ?
ก.รู้ว่ามีเจ้าของ ข.คิดจะลัก
ค.พยายามลัก ง.ลักมาได้
ตอบ ง
21.อทินนาทานที่เกิดขึ้นทางวจีทวาร ตรงกับข้อใด ?
ก.มีจิตคิดจะลัก ข.พยายามจะลัก
ค.สั่งให้คนอื่นลัก ง.ลักด้วยตนเอง
ตอบ ค
22.รู้ว่ามีเจ้าของหวง เป็นองค์แห่งอกุศลกรรมบถข้อใด ?
ก.อทินนาทาน ข.พยาบาท
ค.กาเมสุมิจฉาจาร ง.ผรุสวาจา
ตอบ ก
23.ความผิดที่เรียกว่า กาเมสุมิจฉาจาร ตรงกับข้อใด ?
ก.ไม่เคารพพ่อแม่ ข.ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
ค.ไม่พอใจคู่ครอง ง.ไม่ทำตามกติกา
ตอบ ค
24.สทารสันโดษ หมายถึงความพึงพอใจในเรื่องใด ?
ก.ยศศักดิ์ ข.คู่ครอง
ค.การงาน ง.บริวาร
ตอบ ข
25.กาเมสุมิจฉาจารจะสำเร็จเป็นกรรมบถได้ ต้องเกิดทางทวารใด ?
ก.กายทวาร ข.วจีทวาร
ค.มโนทวาร ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ก
26.ความเสื่อมโทรมทางสังคมกรณีใด เกิดจากกาเมสุมิจฉาจาร ?
ก.ขายยาเสพติ ข.ลอบวางระเบิด
ค.ละเมิดทางเพศ ง.ทุจริตคอรับชั่น
ตอบ ค
27.มุสาวาทที่เกิดขึ้นจากคามพยายามทางกาย ตรงกับข้อใด ?
ก.แจ้งความเท็จ ข.ทำเอกสารเท็จ
ค.เป็นพยานเท็จ ง.ให้การเท็จ
ตอบ ข
28.องค์แห่งมุสาวาทข้อใด ทำให้มุสาวาทสำเร็จเป็นกรรมบถ ?
ก.เรื่องไม่จริง ข.จิตคิดจะพูด
ค.พยายามพูด ง.คนอื่นเข้าใจ
ตอบ ง
29.มุสาวาทที่สำเร็จเป็นกรรมบถ ต้องมีลักษณะเช่นไร ?
ก.คิดจะพูดเรื่องโกหก ข.คนอื่นได้ประโยชน์
ค.คนอื่นเสียประโยชน์ ง.คนพูดเสียประโยชน์
ตอบ ค
30.มุสาวาท เกิดผลกระทบโดยตรงต่อสังคมอย่างไร ?
ก.คบหาไม่สนิทใจ ข.ชีวิตไม่ปลอดภัย
ค.ทรัพย์สุญหาย ง.ไม่เอื้อเฟื้อต่อกัน
ตอบ ก
31.มุสาวาท ย่อมให้ผลในภายหน้าแก่ผู้กระทำอย่างไร ?
ก.มีอายุสั้น ข.มีชีวิตขัดสน
ค.เป็นคนบ้า ง.ไม่น่าเชื่อถือ
ตอบ ง
32.คำพูดหยาบคาย เรียกว่าอะไร ?
ก.มุสาวาท ข.ผรุสวาจา
ค.สัมผัปปลาปะ ง.ปิสุณวาจา
ตอบ ข
33.คำพูดยุยงทำให้คนอื่นเกิดความแตกแยก เรียกว่าอะไร ?
ก.มุสาวาท ข.ผรุสวาจา
ค.สัมผัปปลาปะ ง.ปิสุณวาจา
ตอบ ง
34.คำพูดไม่เกิดประโยชน์ทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟัง เรียกว่าอะไร ?
ก.มุสาวาท ข.ผรุสวาจา
ค.สัมผัปปลาปะ ง.ปิสุณวาจา
ตอบ ค
35.ปิสุณวาจา จะสำเร็จเป็นกรรมบถในขณะใด ?
ก.เมื่อคนอื่นเข้าใจ ข.เมื่อคนอื่นเกิดแตกแยก
ค.เมื่อคนอื่นถูกด่า ง.เมื่อคนอื่นเสียประโยชน์
ตอบ ข
36.คำพูดที่เป็นผรุสวาจา ผู้พูดมุ่งถึงเจตนาใด ?
ก.ประทุษร้าย ข.หลอกลวง
ค.ให้แตกแยก ง.ให้เข้าใจผิด
ตอบ ก
37.ผู้พูดกล่าวผรุสวาจาด้วยเจตนาเช่นไร จึงไม่จัดเป็นผรุสวาจา ?
ก.มีเจตนาร้าย ข.มีเจตนาหวังดี
ค.มีเจตนาโลภ ง.มีเจตนาทำลาย
ตอบ ข
38.เพราะเหตุใด คำพูดอ่อนหวาน แต่คนพูดมีเจตนามุ่งจะทำลาย จึงจัดเป็นผรุสวาจา ?
ก.มีจิตหยาบคาย ข.มีจิตเศร้าหมอง
ค.มีจิตอ่อนโยน ง.มีจิตหลอกลวง
ตอบ ก
39.คิดละโมบอยากได้ของคนอื่นเอามาเป็นของตน เรียกว่าอะไร ?
ก.อทินนาทาน ข.อนภิชฌา
ค.อภิชฌา ง.อพยาบาท
ตอบ ค
40.มิจฉาทิฏฐิ โดยสภาวะ ได้แก่กิเลสใด ?
ก.โลภะ ข.โทสะ
ค.มานะ ง.โมหะ
ตอบ ง
41. ข้อใด เป็นกรรมบถและเป็นเหตุเกิดอกุศลกรรมบถเหล่าอื่น ?
ก. ปาณาติบาต ข. อภิชฌา
ค. ปิสุณวาจา ง. มุสาวาท
คำตอบ : ข
42. จิตที่สหรคตด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นเหตุให้คนทำอกุศลกรรมใด ?
ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
ค. จองเวร ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ง
43. ความเห็นใด ปฏิเสธกรรมและผลแห่งกรรมอย่างสิ้นเชิง ?
ก. สัมมาทิฏฐิ ข. มิจฉาทิฏฐิ
ค. สักกายทิฏฐิ ง. สัสสตทิฏฐิ
คำตอบ : ข
44. กุศลกรรมบถที่เกิดขึ้นทางมโนทวารอย่างเดียว ตรงกับข้อใด ?
ก. มิจฉาทิฏฐิ ข. อภิชฌา
ค. สัมมาทิฏฐิ ง. มุสาวาท
คำตอบ : ค
45. บุคคลที่ไม่มีพยาบาทเกิดขึ้นในใจ ย่อมงดเว้นอกุศลกรรมใด ?
ก. เห็นผิด ข. ลักทรัพย์
ค. จองเวร ง. พูดโกหก
คำตอบ : ค
46. บุคคลประพฤติเช่นไร ได้ชื่อว่ามีเมตตากายกรรม ?
ก. งดคิดร้ายกัน ข. งดทำร้ายกัน
ค. งดปองร้ายกัน ง. งดให้ร้ายกัน
คำตอบ : ข
47. เห็นคนอื่นได้ดีแล้ว มีจิตพลอยอนุโมทนา จัดเป็นมโนกรรม เกิดขึ้น
ทางทวารใด ?
ก. กายทวาร ข. วจีทวาร
ค. มโนทวาร ง. ทุกทวาร
คำตอบ : ค
48. ผู้มีจิตตั้งมั่นในการเจริญพระกรรมฐาน แสดงว่ามีอุปนิสัยใด ?
ก. ทานูปนิสัย ข. สีลูปนิสัย
ค. ภาวนูปนิสัย ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ค
49. ข้อใด กล่าวเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง ?
ก. ตัดกรรมได้ ข. ถอนกรรมได้
ค. แก้กรรมได้ ง. เสวยผลกรรม
คำตอบ : ง
50. ข้อใด เป็นผลสูงสุดในการประพฤติกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ?
ก. มีจิตหลุดพ้น ข. มีจิตใจมั่นคง
ค. มีกายเรียบร้อย ง. มีปัญญารอบรู้
คำตอบ : ก
เฉลยวิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก
1. ง 11. ง 21. ค 31. ง 41. ข
2. ก 12. ก 22. ก 32. ข 42. ง
3. ข 13. ข 23. ค 33. ง 43. ข
4. ก 14. ก 24. ข 34. ค 44. ค
5. ค 15. ง 25. ก 35. ข 45. ค
6. ข 16. ก 26. ค 36. ก 46. ข
7. ค 17. ข 27. ข 37. ข 47. ค
8. ข 18. ค 28. ง 38. ก 48. ค
9. ค 19. ง 29. ค 39. ค 49. ง
10. ก 20. ง 30. ก 40. ง 50. ก
ธรรมศึกษา
ตัวอย่างการเขียนเรียงความกระทู้ธรรมนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ
มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตของตน.
ณ บัดนี้ จักได้อธิบายขยายเนื้อความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และนำไปปฏิบัติ สืบต่อไป.
ดำเนินความว่า ความไม่ประมาทเป็นหลักธรรมสำคัญประการหนึ่งของพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธองค์ใกล้จะเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้รับสั่งเป็นปัจฉิมวาจา ซึ่งเป็นพระวาจาสุดท้ายก่อนปรินิพาน ความว่า “หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว, วยธมฺมา สงฺขารา, อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอพูดกับเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม”พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวในหนังสือเรื่อง จาริกบุญ จาริกธรรมว่า “พระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พระองค์ตรัสปัจฉิมวาจานี้ไว้ เราจะต้องให้ความสำคัญเหมือนกับเป็นวาจาสั่งเสียของพ่อแม่ เพราะทรงเป็นพระบิดาของพระศาสนาทั้งหมด วาจาที่ตรัสเตือนให้ไม่ประมาทนี้ จะต้องนำมาประพฤติปฏิบัติกันอย่างจริงจัง” อันที่จริงปัจฉิมวาจาของพระพุทธองค์นั้น ทรงเตือนในหลักธรรมสองประการ ประการแรกคือความว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา” ซึ่งหมายถึงหลักอนิจตา คือความเป็นของไม่เที่ยง หรือภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่ ส่วนหลักธรรมประการที่สองคือความไม่ประมาท อันที่จริงเมื่อพิจารณาให้ดี จะเห็นได้ว่า หลักธรรมทั้งสองประการนี้มีความเกี่ยวพันกันอยู่ กล่าวคือ เมื่อเรารำลึกอยู่เสมอว่า สรรพสิ่งและสภาวะต่างๆ ล้วนไม่เที่ยง ล้วนไม่คงที่ฉะนั้นเราอย่าตั้งอยู่ในความประมาท เพราะความประมาททำให้ยึดติดมั่นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมั่นคงแน่นอนทั้งนั้น ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงและดับสูญไปในที่สุด สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
อปฺปมาทรโต โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโรฺ.
ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
อธิบายความว่า อัปมาทะ ความไม่ประมาทในการที่จะใช้ชีวิตของเราถลำลงไปสู่ความเสื่อม แล้วก็ไม่ยอมพลาดโอกาสที่จะทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดีให้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ถือเป็นคุณธรรมที่ดีในชีวิตของเรา จงช่วยกันเร่งทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ในการทำเหตุ ในการกระทำทุก ๆ การกระทำของเรา เพื่อที่จะทำให้ชีวิตของเราเจริญขึ้น ถ้าเราสามารถมีความไม่ประมาทในปัจจุบันขณะ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ไม่ประมาทในเหตุ ไม่ทำเหตุด้วยความประมาทให้ถึงพร้อม (ความไม่ประมาท คือ ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือ ความเพียรสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่ การดำเนินชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงามและความอันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย การทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบและรุดหน้าเรื่อยไป) ชีวิตของเราจะพ้นทุกข์ได้ จงใช้ชีวิตของเราอย่างคนที่ร่าเริง รู้ตื่นและเบิกบาน ในขณะทำหน้าที่ทุก ๆ หน้าที่ ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ทรงเปรียบเทียบให้เห็นว่าความไม่ประมาทเป็นที่สุดของคุณธรรมทั้งหลายนั้น ท่านเปรียบว่าเวลาที่เราเห็นรอยเท้าสัตว์ในป่านี้มารวมกัน จะเห็นว่ารอยเท้าทั้งหมดจะอยู่รวมกันในรอยเท้าของช้างซึ่งเป็นรอยเท้าที่ใหญ่ที่สุด ความไม่ประมาทก็เหมือนกัน เป็นคุณธรรมที่ใหญ่ ที่จะรวมคุณธรรมอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้ ขอให้ท่านใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมในการทำหน้าที่ แล้วรู้ตื่นและเบิกบานในขณะที่ทำหน้าที่นั้น ๆ เพื่อชีวิตของท่านจะไม่ขุ่นมัว แม้แต่ขณะจิตเดียว และถ้าเพื่อเราเห็นว่า เราไม่ยอมให้ชีวิตของเราขุ่นมัวแม้ขณะเดียว เราจะเห็นทันทีเลย ว่าชีวิตของเราก็พ้นทุกข์อยู่ในขณะนั้นขอให้มีความสุขด้วยไม่ประมาท สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
อนวสฺสุตจิตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญญฺปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบเเล้ว
มีบุญเเละ บาปอันละได้เเล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย.
อธิบายความว่า บอกเขา คนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ นั่นน่ะ ถ้าอยากจะเห็นตัวบาปชัดๆ มีวิธีดู ให้ไปดูหน้าที่กระจกชัดๆ ที่เห็นในกระจกนั่นแหละ ตัวบาป หน้าใครหน้ามันละไม่ว่าบาปไม่ว่าบุญเวลาออกผลต้องใช้เวลาพอสมควร เช่น ปลูกกล้วยวันนี้ พรุ่งนี้ ได้กินกล้วยไหม ? ไม่ได้ รออีกเป็นเดือนๆ บางทีเกือบปี จึงจะได้กินกล้วย เช่นกัน ทำความดีวันนี้ ได้รับผลดีทันทีไหม ? ที่ได้รับทันทีเป็นผลภายในใจคือ ได้รับความ ชื่นใจ แต่จะให้สังคมยอมรับ หรือทำให้ลาภผลอะไรเกิดขึ้นต้องรออีกเป็นปี ต้องรอ ด้วยกันทุกคนเช่นเดียวกัน ทำบาปปุ๊บมันก็ได้ปั๊บเหมือนกัน คือ ใจขุ่นมัว และผลบาปจริงๆ จะ ตามมาทัน ก็ต้องรอเวลาอีกช่วงเหมือนกัน มันเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นคนที่มักง่าย ไม่ตรอง อะไรจริงๆ จังๆ ไม่ละเอียดสุขุมรอบคอบ ก็เลยมักจะทึกทักเอาว่า บุญไม่มี บาปไม่มี คนส่วนมากในโลกนี้ เมื่อเวลาคนอื่นทำชั่ว ก็อยากให้เขาได้รับผลชั่วทันที ซึ่งก็ดีเหมือนกัน สมมุติดูนะ ถ้าพอใครโกหกปุ๊บ ให้มันฟันหักหมดปากปั๊บเลย สงสัยที่นั่งอยู่บน ศาลานี้ คงไม่มีใครเหลือฟันสักซี่ แต่ถ้าเวลาตัวเราโกหก ปุ๊บ สาธุ .. ขอเราอย่าเพิ่ง ฟันหักเลย นี่คือเรา.. พอเราทำความดีปุ๊บ อยากจะให้เราได้ดีทันทีเลย ให้คนเขา ยกย่องเชิดชู ได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ลาภได้ผล อยากให้ได้ทันที แต่เวลาคนอื่นเขาทำ ความดี ในระยะยังไม่หมดกิเลส ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ก็ยังมีความสุขกาย สุขใจ ไม่ต้องทุกข์กายทุกข์ใจรักษา ศีล สมาธิ ด้วยปัญญาให้ดีแล้วจะทำให้ชีวิตของเราเจริญรุ่งเรืองตลอดไป.สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
สุสุขํ วต ชีวาม เวริเนสุ อเวริโน
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ วหาราม อเวริโน.
ในหมู่มนุษย์ผู้มีเวรกัน เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ ในหมู่มนุษย์
ผู้มีเวรกัน เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ เราจึงเป็นอยู่อย่างเป็นสุขดีหนอ.
อธิบายความว่า การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เป็นที่มั่นใจในศีลขอตนเองอาศัยปัญญา ปัญญาเป็นเครื่องชำระศีลให้บริสุทธิ์ ศีลนั้นแม้จะเป็นเลิศ ทำให้ปลอดภัย มีความสุขกายสุขใจได้ก็อยู่ในระดับกำลังของศีลเท่านั้น เพราะศีลเป็นเพียงเบื้องต้น เป็นเครื่องป้องกัน กำจัดได้เฉพาะกิเลสอย่างหยาบมีทุจริตทางกาย ทางวาจา ปิดกั้นทุคติภูมิ เปิดทางนำไปสู่สุคติภูมิเท่านั้น ศีลเป็นเครื่องอบรมจิตเบื้องต้นทำจิตให้มีหลัก หนักแน่นเป็นสมาธิที่จะดำเนินไปสู่ระดับต้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี ส่วนผู้ที่สมบูรณ์ด้วยปัญญา พร้อมทั้งศีลและสมาธิเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอริยคุณขั้นสูงสุด คือพระอรหันต์ ปัญญาจึงเป็นคุณขั้นอุดม
สรุปความว่า พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พระองค์ตรัสปัจฉิมวาจานี้ไว้ เราจะต้องให้ความสำคัญเหมือนกับเป็นวาจาสั่งเสียของพ่อแม่ เพราะทรงเป็นพระบิดาของพระศาสนาทั้งหมด วาจาที่ตรัสเตือนให้ไม่ประมาทนี้ จะต้องนำมาประพฤติปฏิบัติกันอย่างจริงจัง” อันที่จริงปัจฉิมวาจาของพระพุทธองค์นั้น ทรงเตือนในหลักธรรมสองประการ ประการแรกคือความว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา” ซึ่งหมายถึงหลักอนิจตา คือความเป็นของไม่เที่ยง หรือภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่ ส่วนหลักธรรมประการที่สอง คือความไม่ประมาท อันที่จริงเมื่อพิจารณาให้ดี จะเห็นได้ว่า หลักธรรมทั้งสองประการนี้มีความเกี่ยวพันกันอยู่ กล่าวคือ เมื่อเรารำลึกอยู่เสมอว่า สรรพสิ่งและสภาวะต่างๆ ล้วนไม่เที่ยง ล้วนไม่คงที่ฉะนั้นเราอย่าตั้งอยู่ในความประมาท เพราะความประมาททำให้ยึดติดมั่นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมั่นคงแน่นอนทั้งนั้น ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงและดับสูญไปในที่สุด สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า.
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ
มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตของตน.
มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ฯ.
ธรรมศึกษา
อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ
มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตของตน.
ณ บัดนี้ จักได้อธิบายขยายเนื้อความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และนำไปปฏิบัติ สืบต่อไป.
ดำเนินความว่า ความไม่ประมาทเป็นหลักธรรมสำคัญประการหนึ่งของพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธองค์ใกล้จะเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้รับสั่งเป็นปัจฉิมวาจา ซึ่งเป็นพระวาจาสุดท้ายก่อนปรินิพาน ความว่า “หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว, วยธมฺมา สงฺขารา, อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอพูดกับเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม”พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวในหนังสือเรื่อง จาริกบุญ จาริกธรรมว่า “พระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พระองค์ตรัสปัจฉิมวาจานี้ไว้ เราจะต้องให้ความสำคัญเหมือนกับเป็นวาจาสั่งเสียของพ่อแม่ เพราะทรงเป็นพระบิดาของพระศาสนาทั้งหมด วาจาที่ตรัสเตือนให้ไม่ประมาทนี้ จะต้องนำมาประพฤติปฏิบัติกันอย่างจริงจัง” อันที่จริงปัจฉิมวาจาของพระพุทธองค์นั้น ทรงเตือนในหลักธรรมสองประการ ประการแรกคือความว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา” ซึ่งหมายถึงหลักอนิจตา คือความเป็นของไม่เที่ยง หรือภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่ ส่วนหลักธรรมประการที่สองคือความไม่ประมาท อันที่จริงเมื่อพิจารณาให้ดี จะเห็นได้ว่า หลักธรรมทั้งสองประการนี้มีความเกี่ยวพันกันอยู่ กล่าวคือ เมื่อเรารำลึกอยู่เสมอว่า สรรพสิ่งและสภาวะต่างๆ ล้วนไม่เที่ยง ล้วนไม่คงที่ฉะนั้นเราอย่าตั้งอยู่ในความประมาท เพราะความประมาททำให้ยึดติดมั่นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมั่นคงแน่นอนทั้งนั้น ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงและดับสูญไปในที่สุด สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
อปฺปมาทรโต โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโรฺ.
ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
อธิบายความว่า อัปมาทะ ความไม่ประมาทในการที่จะใช้ชีวิตของเราถลำลงไปสู่ความเสื่อม แล้วก็ไม่ยอมพลาดโอกาสที่จะทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดีให้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ถือเป็นคุณธรรมที่ดีในชีวิตของเรา จงช่วยกันเร่งทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ในการทำเหตุ ในการกระทำทุก ๆ การกระทำของเรา เพื่อที่จะทำให้ชีวิตของเราเจริญขึ้น ถ้าเราสามารถมีความไม่ประมาทในปัจจุบันขณะ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ไม่ประมาทในเหตุ ไม่ทำเหตุด้วยความประมาทให้ถึงพร้อม (ความไม่ประมาท คือ ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือ ความเพียรสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่ การดำเนินชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงามและความอันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย การทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบและรุดหน้าเรื่อยไป) ชีวิตของเราจะพ้นทุกข์ได้ จงใช้ชีวิตของเราอย่างคนที่ร่าเริง รู้ตื่นและเบิกบาน ในขณะทำหน้าที่ทุก ๆ หน้าที่ ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ทรงเปรียบเทียบให้เห็นว่าความไม่ประมาทเป็นที่สุดของคุณธรรมทั้งหลายนั้น ท่านเปรียบว่าเวลาที่เราเห็นรอยเท้าสัตว์ในป่านี้มารวมกัน จะเห็นว่ารอยเท้าทั้งหมดจะอยู่รวมกันในรอยเท้าของช้างซึ่งเป็นรอยเท้าที่ใหญ่ที่สุด ความไม่ประมาทก็เหมือนกัน เป็นคุณธรรมที่ใหญ่ ที่จะรวมคุณธรรมอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้ ขอให้ท่านใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมในการทำหน้าที่ แล้วรู้ตื่นและเบิกบานในขณะที่ทำหน้าที่นั้น ๆ เพื่อชีวิตของท่านจะไม่ขุ่นมัว แม้แต่ขณะจิตเดียว และถ้าเพื่อเราเห็นว่า เราไม่ยอมให้ชีวิตของเราขุ่นมัวแม้ขณะเดียว เราจะเห็นทันทีเลย ว่าชีวิตของเราก็พ้นทุกข์อยู่ในขณะนั้นขอให้มีความสุขด้วยไม่ประมาท สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
อนวสฺสุตจิตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญญฺปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบเเล้ว
มีบุญเเละ บาปอันละได้เเล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย.
อธิบายความว่า บอกเขา คนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ นั่นน่ะ ถ้าอยากจะเห็นตัวบาปชัดๆ มีวิธีดู ให้ไปดูหน้าที่กระจกชัดๆ ที่เห็นในกระจกนั่นแหละ ตัวบาป หน้าใครหน้ามันละไม่ว่าบาปไม่ว่าบุญเวลาออกผลต้องใช้เวลาพอสมควร เช่น ปลูกกล้วยวันนี้ พรุ่งนี้ ได้กินกล้วยไหม ? ไม่ได้ รออีกเป็นเดือนๆ บางทีเกือบปี จึงจะได้กินกล้วย เช่นกัน ทำความดีวันนี้ ได้รับผลดีทันทีไหม ? ที่ได้รับทันทีเป็นผลภายในใจคือ ได้รับความ ชื่นใจ แต่จะให้สังคมยอมรับ หรือทำให้ลาภผลอะไรเกิดขึ้นต้องรออีกเป็นปี ต้องรอ ด้วยกันทุกคนเช่นเดียวกัน ทำบาปปุ๊บมันก็ได้ปั๊บเหมือนกัน คือ ใจขุ่นมัว และผลบาปจริงๆ จะ ตามมาทัน ก็ต้องรอเวลาอีกช่วงเหมือนกัน มันเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นคนที่มักง่าย ไม่ตรอง อะไรจริงๆ จังๆ ไม่ละเอียดสุขุมรอบคอบ ก็เลยมักจะทึกทักเอาว่า บุญไม่มี บาปไม่มี คนส่วนมากในโลกนี้ เมื่อเวลาคนอื่นทำชั่ว ก็อยากให้เขาได้รับผลชั่วทันที ซึ่งก็ดีเหมือนกัน สมมุติดูนะ ถ้าพอใครโกหกปุ๊บ ให้มันฟันหักหมดปากปั๊บเลย สงสัยที่นั่งอยู่บน ศาลานี้ คงไม่มีใครเหลือฟันสักซี่ แต่ถ้าเวลาตัวเราโกหก ปุ๊บ สาธุ .. ขอเราอย่าเพิ่ง ฟันหักเลย นี่คือเรา.. พอเราทำความดีปุ๊บ อยากจะให้เราได้ดีทันทีเลย ให้คนเขา ยกย่องเชิดชู ได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ลาภได้ผล อยากให้ได้ทันที แต่เวลาคนอื่นเขาทำ ความดี ในระยะยังไม่หมดกิเลส ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ก็ยังมีความสุขกาย สุขใจ ไม่ต้องทุกข์กายทุกข์ใจรักษา ศีล สมาธิ ด้วยปัญญาให้ดีแล้วจะทำให้ชีวิตของเราเจริญรุ่งเรืองตลอดไป.สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
สุสุขํ วต ชีวาม เวริเนสุ อเวริโน
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ วหาราม อเวริโน.
ในหมู่มนุษย์ผู้มีเวรกัน เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ ในหมู่มนุษย์
ผู้มีเวรกัน เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ เราจึงเป็นอยู่อย่างเป็นสุขดีหนอ.
อธิบายความว่า การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เป็นที่มั่นใจในศีลขอตนเองอาศัยปัญญา ปัญญาเป็นเครื่องชำระศีลให้บริสุทธิ์ ศีลนั้นแม้จะเป็นเลิศ ทำให้ปลอดภัย มีความสุขกายสุขใจได้ก็อยู่ในระดับกำลังของศีลเท่านั้น เพราะศีลเป็นเพียงเบื้องต้น เป็นเครื่องป้องกัน กำจัดได้เฉพาะกิเลสอย่างหยาบมีทุจริตทางกาย ทางวาจา ปิดกั้นทุคติภูมิ เปิดทางนำไปสู่สุคติภูมิเท่านั้น ศีลเป็นเครื่องอบรมจิตเบื้องต้นทำจิตให้มีหลัก หนักแน่นเป็นสมาธิที่จะดำเนินไปสู่ระดับต้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี ส่วนผู้ที่สมบูรณ์ด้วยปัญญา พร้อมทั้งศีลและสมาธิเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอริยคุณขั้นสูงสุด คือพระอรหันต์ ปัญญาจึงเป็นคุณขั้นอุดม
สรุปความว่า พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พระองค์ตรัสปัจฉิมวาจานี้ไว้ เราจะต้องให้ความสำคัญเหมือนกับเป็นวาจาสั่งเสียของพ่อแม่ เพราะทรงเป็นพระบิดาของพระศาสนาทั้งหมด วาจาที่ตรัสเตือนให้ไม่ประมาทนี้ จะต้องนำมาประพฤติปฏิบัติกันอย่างจริงจัง” อันที่จริงปัจฉิมวาจาของพระพุทธองค์นั้น ทรงเตือนในหลักธรรมสองประการ ประการแรกคือความว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา” ซึ่งหมายถึงหลักอนิจตา คือความเป็นของไม่เที่ยง หรือภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่ ส่วนหลักธรรมประการที่สอง คือความไม่ประมาท อันที่จริงเมื่อพิจารณาให้ดี จะเห็นได้ว่า หลักธรรมทั้งสองประการนี้มีความเกี่ยวพันกันอยู่ กล่าวคือ เมื่อเรารำลึกอยู่เสมอว่า สรรพสิ่งและสภาวะต่างๆ ล้วนไม่เที่ยง ล้วนไม่คงที่ฉะนั้นเราอย่าตั้งอยู่ในความประมาท เพราะความประมาททำให้ยึดติดมั่นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมั่นคงแน่นอนทั้งนั้น ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงและดับสูญไปในที่สุด สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า.
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ
มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตของตน.
มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ฯ.
ธรรมศึกษา
พุทธศาสนสุภาษิตนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก
1.อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
อปฺปมาทรโต โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโรฺ.
ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
2. จิตตวรรค คือหมวดจิต
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า.
จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู.
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไปสัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจ
เเห่งจิตอย่างเดียว.
3. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
โอวเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย
สตํ หิ โส ปิโย โหติ อสตํ โหติ อปฺปิโย.
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน เเละป้องกันจากคนไม่ดี
เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี เเต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี.
4. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา.
ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นเเต่ผู้บอก
ผู้มีปกติเพ่งพินิจ ดำเนินไปเเล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร.
5. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย จริยาปิฎก ว่า.
วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต
สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี.
ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย
เเละความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยเเล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง
มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี.
6. หมวดความอดทน
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน สวดมนต์ฉบับหลวง ว่า.
อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก.
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนเองทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
ธรรมศึกษา
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
อปฺปมาทรโต โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโรฺ.
ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
2. จิตตวรรค คือหมวดจิต
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า.
จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู.
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไปสัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจ
เเห่งจิตอย่างเดียว.
3. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
โอวเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย
สตํ หิ โส ปิโย โหติ อสตํ โหติ อปฺปิโย.
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน เเละป้องกันจากคนไม่ดี
เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี เเต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี.
4. วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา.
ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นเเต่ผู้บอก
ผู้มีปกติเพ่งพินิจ ดำเนินไปเเล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร.
5. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย จริยาปิฎก ว่า.
วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต
สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี.
ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย
เเละความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยเเล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง
มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี.
6. หมวดความอดทน
สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน สวดมนต์ฉบับหลวง ว่า.
อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก.
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนเองทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
ธรรมศึกษา
สุภาษิตนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท (เล่ม ๒)
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน
๑. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย อตฺตทตฺถมภิญฺญาย สทตฺถปสุโต สิยา
บุคคลไม่ควรพล่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก
รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๗.
๒. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึงทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่า
ตนแลฝึกยาก
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๖.
๓. อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน สอนผู้อื่นภายหลังจึงไม่มัวหมอง
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๖.
๒. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม
๔. อติสีตํ อติอุณฺหํ อติสายมิทํ อหุ อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก
ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.
( พุทฺธ ) ที. ปาฏิ. ๑๑ / ๑๙๙ .
๕. อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฌติ เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อน
เพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๓.
๖. ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี
ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕ / ๓๓๓.
๗. โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ อตฺถา ตสฺส ปลุชฺชนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึก
(คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย
( ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗ / ๒๒๘ .
๘. โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน ย่อมสำนึก
(คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
( ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗ / ๒๒๘ .
๙. โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ
ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗ / ๒๓.
๑๐. สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ โปราณกํ กตํ ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ
ถ้าประสพสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา.ปญฺญส. ๒๘ / ๒๕.
๑๑. สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๒
๑๒. สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๒
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๑๓. อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้ที่มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
ส. ม. ๒๒๒.
๑๔. เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนติ ขนฺติโก
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียน
และการทะเลาะกันเป็นต้นได้
ส. ม. ๒๒๒
๑๕. ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ส. ม. ๒๒๒
๑๖. สตฺถุโน วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก ปรมาย จ ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
ส. ม. ๒๒๒
๑๗.สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น
ส. ม. ๒๒๒
๔. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๘. อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิวทฺโทว ชีรติ มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ
คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๕.
๑๙. ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ อปิ วิตฺตปริกฺขยา ปญฺญาย จ อลาเภน วิตฺตวาปิ น ชีวติ
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้ แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้
( มหากปฺปินเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๐.
๒๐. ปญฺญวา พุทฺธิสมฺปนฺโน วิธานวิธิโกวิโท กาลญฺญู สมยญฺญู จ ส ราชวสตึ วเส
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงานรู้กาลและรู้สมัยเขาพึงอยู่ในราชการได้
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘ / ๓๓๙.
๒๑. ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
สีลํ สิรี จาปิ สตญฺจ ธมฺโม อนฺวายิกา ปญฺญวโต ภวนฺติ
คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา ( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗ / ๕๔๑.
๒๒. มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๕๓.
๒๓. ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน อตฺตโน จ ปเรสญฺ จ หึสาย ปฏิปชฺชติ
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
( หตฺถาจริย ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗ / ๔๐.
๒๔. ยาวเทว อนตฺถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย มันทำสมองของเขาให้เขว ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๒๔.
๒๕. โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน
ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๒๙.
๕. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๒๖. อสนฺเต นูปเสเวยฺย สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต อสนฺโต นิรยํ เนนฺติ สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๗ / ๔๓๗.
๒๗. ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ ก็ฉันนั้น
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๙ /๔๓๗.
๒๘. น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ โคธากุลํ กกณฺฏาว กลึ ปาเปติ อตฺตนํ
ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้ เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๖.
๒๙. ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ
ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน
( วิมลเถร ) ขุ. เถร. ๒๖ / ๓๐๙.
๓๐. ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบกับคนพาลก็ฉันนั้น
( ราชธีตา ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘ / ๓๐๓.
๓๑. ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ ยาทิสญฺจูปเสวติ โสปิ ตาทิสโก โหติ สหวาโส หิ ตาทิโส
คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๗ / ๔๓๗.
๓๒. สทฺเธน จ เปสเลน จ ปญฺญวตา พหุสฺสุเตน จ สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต
ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม
บัณฑิต พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ
( อานนฺทเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๔๐๔.
………………………… “ …………………………
ธรรมศึกษา
๑. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย อตฺตทตฺถมภิญฺญาย สทตฺถปสุโต สิยา
บุคคลไม่ควรพล่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก
รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๗.
๒. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึงทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่า
ตนแลฝึกยาก
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๖.
๓. อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน สอนผู้อื่นภายหลังจึงไม่มัวหมอง
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๖.
๒. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม
๔. อติสีตํ อติอุณฺหํ อติสายมิทํ อหุ อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก
ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.
( พุทฺธ ) ที. ปาฏิ. ๑๑ / ๑๙๙ .
๕. อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฌติ เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อน
เพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๓.
๖. ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี
ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕ / ๓๓๓.
๗. โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ อตฺถา ตสฺส ปลุชฺชนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึก
(คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย
( ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗ / ๒๒๘ .
๘. โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน ย่อมสำนึก
(คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
( ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗ / ๒๒๘ .
๙. โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ
ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗ / ๒๓.
๑๐. สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ โปราณกํ กตํ ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ
ถ้าประสพสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา.ปญฺญส. ๒๘ / ๒๕.
๑๑. สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๒
๑๒. สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๒
๕. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๑๓. อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้ที่มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
ส. ม. ๒๒๒.
๑๔. เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนติ ขนฺติโก
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียน
และการทะเลาะกันเป็นต้นได้
ส. ม. ๒๒๒
๑๕. ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ส. ม. ๒๒๒
๑๖. สตฺถุโน วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก ปรมาย จ ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
ส. ม. ๒๒๒
๑๗.สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น
ส. ม. ๒๒๒
๔. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑๘. อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิวทฺโทว ชีรติ มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ
คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๕.
๑๙. ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ อปิ วิตฺตปริกฺขยา ปญฺญาย จ อลาเภน วิตฺตวาปิ น ชีวติ
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้ แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้
( มหากปฺปินเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๐.
๒๐. ปญฺญวา พุทฺธิสมฺปนฺโน วิธานวิธิโกวิโท กาลญฺญู สมยญฺญู จ ส ราชวสตึ วเส
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงานรู้กาลและรู้สมัยเขาพึงอยู่ในราชการได้
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘ / ๓๓๙.
๒๑. ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
สีลํ สิรี จาปิ สตญฺจ ธมฺโม อนฺวายิกา ปญฺญวโต ภวนฺติ
คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา ( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗ / ๕๔๑.
๒๒. มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๕๓.
๒๓. ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน อตฺตโน จ ปเรสญฺ จ หึสาย ปฏิปชฺชติ
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
( หตฺถาจริย ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗ / ๔๐.
๒๔. ยาวเทว อนตฺถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย มันทำสมองของเขาให้เขว ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๒๔.
๒๕. โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน
ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕ / ๒๙.
๕. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๒๖. อสนฺเต นูปเสเวยฺย สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต อสนฺโต นิรยํ เนนฺติ สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๗ / ๔๓๗.
๒๗. ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ ก็ฉันนั้น
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๙ /๔๓๗.
๒๘. น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ โคธากุลํ กกณฺฏาว กลึ ปาเปติ อตฺตนํ
ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้ เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๖.
๒๙. ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ
ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน
( วิมลเถร ) ขุ. เถร. ๒๖ / ๓๐๙.
๓๐. ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบกับคนพาลก็ฉันนั้น
( ราชธีตา ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘ / ๓๐๓.
๓๑. ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ ยาทิสญฺจูปเสวติ โสปิ ตาทิสโก โหติ สหวาโส หิ ตาทิโส
คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๗ / ๔๓๗.
๓๒. สทฺเธน จ เปสเลน จ ปญฺญวตา พหุสฺสุเตน จ สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต
ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม
บัณฑิต พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ
( อานนฺทเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๔๐๔.
………………………… “ …………………………
ธรรมศึกษา
ขั้นตอนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม
๑. ต้องท่องจำพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ให้ได้ และเขียนให้ถูกต้องอย่างน้อย ๒ สุภาษิต พร้อมทั้งที่มาของสุภาษิตบทนั้นด้วยเพื่อนำไปเป็นสุภาษิตเชื่อม (เวลาสอบใช้สุภาษิตเดียว)
๒. เมื่อท่องจำสุภาษิตได้แล้ว พึงฝึกหัดแต่งสุภาษิตนั้น สัก ๒-๓ ครั้ง ประมาณ ๑ หน้ากระดาษ จนเกิดความชำนาญ เมื่อนำไปเชื่อมในการสอบจริงจะได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนการลงมือเขียน
ขั้นตอนที่ ๑ การเขียนสุภาษิตกระทู้ตั้ง ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษสอบให้พอดี โดยเฉพาะคำบาลีนั้นต้องเขียนให้ถูกอักขระ ในส่วนคำแปลนั้น พึงเขียนจัดวางให้ได้กึ่งกลางของคำบาลี อย่าให้ล้นไปข้างหน้า หรือเยื้องไปข้างหลังจะดูไม่งามต้องพยายามกะให้พอดี
ขั้นตอนที่ ๒ การเขียนอารัมภบท คือ ณ บัดนี้ ….ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ ประมาณ ๖ ตัวอักษร
ขั้นตอนที่ ๓ ก่อนอธิบายเนื้อความให้ขึ้นบรรทัดใหม่ย่อหน้ากระดาษ การย่อหน้ากระดาษต้องให้ตรงกับ ณ บัดนี้
ขั้นตอนที่ ๔ การเขียนสุภาษิตเชื่อม ให้เขียนตรงกลางหน้ากระดาษเหมือนสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) แต่ก่อนที่จะยกสุภาษิตที่เราท่องไว้แล้วมาเชื่อม ต้องอ้างที่มาของสุภาษิตเสียก่อนว่า สมดังสุภาษิตที่มาใน ……. ( ที่มาของสุภาษิตบทนั้น ) แล้วจึงวางสุภาษิตไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ
ขั้นตอนที่ ๕ ก่อนจะอธิบายเนื้อความของสุภาษิตเชื่อม ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ เหมือนขั้นตอนที่ ๒
ขั้นตอนที่ ๖ การสรุปความให้ย่อหน้า เขียนคำว่า สรุปความว่า ……. การสรุปนั้นควรสรุปประมาณ ๕ – ๖ บรรทัด จึงจะพอดี เมื่อสรุปเสร็จแล้ว ให้นำสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) มาเขียนปิดท้าย
ขั้นตอนที่ ๗ การเขียนสุภาษิตปิดท้าย ให้เขียนคำว่า สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า…..แล้วนำสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) มาเขียนไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษปิดท้าย
ขั้นตอนที่ ๘ บรรทัดสุดท้ายนิยมเติมคำว่า “มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ หรือ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้” มาปิดท้าย
ส่วนการย่อหน้าและจัดวรรคตอนนอกจากนี้ ให้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ต้องฝึกเขียนให้ได้ ๔ – ๕ ครั้งขึ้นไป แต่ละครั้งที่ฝึกเขียน พึงดูแผนการเขียนและตัวอย่างการเรียงความแก้กระทู้ธรรมประกอบด้วยว่าถูกต้องหรือไม่.
ธรรมศึกษา
๒. เมื่อท่องจำสุภาษิตได้แล้ว พึงฝึกหัดแต่งสุภาษิตนั้น สัก ๒-๓ ครั้ง ประมาณ ๑ หน้ากระดาษ จนเกิดความชำนาญ เมื่อนำไปเชื่อมในการสอบจริงจะได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนการลงมือเขียน
ขั้นตอนที่ ๑ การเขียนสุภาษิตกระทู้ตั้ง ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษสอบให้พอดี โดยเฉพาะคำบาลีนั้นต้องเขียนให้ถูกอักขระ ในส่วนคำแปลนั้น พึงเขียนจัดวางให้ได้กึ่งกลางของคำบาลี อย่าให้ล้นไปข้างหน้า หรือเยื้องไปข้างหลังจะดูไม่งามต้องพยายามกะให้พอดี
ขั้นตอนที่ ๒ การเขียนอารัมภบท คือ ณ บัดนี้ ….ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ ประมาณ ๖ ตัวอักษร
ขั้นตอนที่ ๓ ก่อนอธิบายเนื้อความให้ขึ้นบรรทัดใหม่ย่อหน้ากระดาษ การย่อหน้ากระดาษต้องให้ตรงกับ ณ บัดนี้
ขั้นตอนที่ ๔ การเขียนสุภาษิตเชื่อม ให้เขียนตรงกลางหน้ากระดาษเหมือนสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) แต่ก่อนที่จะยกสุภาษิตที่เราท่องไว้แล้วมาเชื่อม ต้องอ้างที่มาของสุภาษิตเสียก่อนว่า สมดังสุภาษิตที่มาใน ……. ( ที่มาของสุภาษิตบทนั้น ) แล้วจึงวางสุภาษิตไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ
ขั้นตอนที่ ๕ ก่อนจะอธิบายเนื้อความของสุภาษิตเชื่อม ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ เหมือนขั้นตอนที่ ๒
ขั้นตอนที่ ๖ การสรุปความให้ย่อหน้า เขียนคำว่า สรุปความว่า ……. การสรุปนั้นควรสรุปประมาณ ๕ – ๖ บรรทัด จึงจะพอดี เมื่อสรุปเสร็จแล้ว ให้นำสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) มาเขียนปิดท้าย
ขั้นตอนที่ ๗ การเขียนสุภาษิตปิดท้าย ให้เขียนคำว่า สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า…..แล้วนำสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) มาเขียนไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษปิดท้าย
ขั้นตอนที่ ๘ บรรทัดสุดท้ายนิยมเติมคำว่า “มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ หรือ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้” มาปิดท้าย
ส่วนการย่อหน้าและจัดวรรคตอนนอกจากนี้ ให้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ต้องฝึกเขียนให้ได้ ๔ – ๕ ครั้งขึ้นไป แต่ละครั้งที่ฝึกเขียน พึงดูแผนการเขียนและตัวอย่างการเรียงความแก้กระทู้ธรรมประกอบด้วยว่าถูกต้องหรือไม่.
ธรรมศึกษา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)