อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ
มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตของตน.
ณ บัดนี้ จักได้อธิบายขยายเนื้อความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และนำไปปฏิบัติ สืบต่อไป.
ดำเนินความว่า ความไม่ประมาทเป็นหลักธรรมสำคัญประการหนึ่งของพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธองค์ใกล้จะเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้รับสั่งเป็นปัจฉิมวาจา ซึ่งเป็นพระวาจาสุดท้ายก่อนปรินิพาน ความว่า “หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว, วยธมฺมา สงฺขารา, อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอพูดกับเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม”พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวในหนังสือเรื่อง จาริกบุญ จาริกธรรมว่า “พระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พระองค์ตรัสปัจฉิมวาจานี้ไว้ เราจะต้องให้ความสำคัญเหมือนกับเป็นวาจาสั่งเสียของพ่อแม่ เพราะทรงเป็นพระบิดาของพระศาสนาทั้งหมด วาจาที่ตรัสเตือนให้ไม่ประมาทนี้ จะต้องนำมาประพฤติปฏิบัติกันอย่างจริงจัง” อันที่จริงปัจฉิมวาจาของพระพุทธองค์นั้น ทรงเตือนในหลักธรรมสองประการ ประการแรกคือความว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา” ซึ่งหมายถึงหลักอนิจตา คือความเป็นของไม่เที่ยง หรือภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่ ส่วนหลักธรรมประการที่สองคือความไม่ประมาท อันที่จริงเมื่อพิจารณาให้ดี จะเห็นได้ว่า หลักธรรมทั้งสองประการนี้มีความเกี่ยวพันกันอยู่ กล่าวคือ เมื่อเรารำลึกอยู่เสมอว่า สรรพสิ่งและสภาวะต่างๆ ล้วนไม่เที่ยง ล้วนไม่คงที่ฉะนั้นเราอย่าตั้งอยู่ในความประมาท เพราะความประมาททำให้ยึดติดมั่นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมั่นคงแน่นอนทั้งนั้น ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงและดับสูญไปในที่สุด สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
อปฺปมาทรโต โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโรฺ.
ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
อธิบายความว่า อัปมาทะ ความไม่ประมาทในการที่จะใช้ชีวิตของเราถลำลงไปสู่ความเสื่อม แล้วก็ไม่ยอมพลาดโอกาสที่จะทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดีให้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ถือเป็นคุณธรรมที่ดีในชีวิตของเรา จงช่วยกันเร่งทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ในการทำเหตุ ในการกระทำทุก ๆ การกระทำของเรา เพื่อที่จะทำให้ชีวิตของเราเจริญขึ้น ถ้าเราสามารถมีความไม่ประมาทในปัจจุบันขณะ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ไม่ประมาทในเหตุ ไม่ทำเหตุด้วยความประมาทให้ถึงพร้อม (ความไม่ประมาท คือ ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือ ความเพียรสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่ การดำเนินชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงามและความอันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย การทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบและรุดหน้าเรื่อยไป) ชีวิตของเราจะพ้นทุกข์ได้ จงใช้ชีวิตของเราอย่างคนที่ร่าเริง รู้ตื่นและเบิกบาน ในขณะทำหน้าที่ทุก ๆ หน้าที่ ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ทรงเปรียบเทียบให้เห็นว่าความไม่ประมาทเป็นที่สุดของคุณธรรมทั้งหลายนั้น ท่านเปรียบว่าเวลาที่เราเห็นรอยเท้าสัตว์ในป่านี้มารวมกัน จะเห็นว่ารอยเท้าทั้งหมดจะอยู่รวมกันในรอยเท้าของช้างซึ่งเป็นรอยเท้าที่ใหญ่ที่สุด ความไม่ประมาทก็เหมือนกัน เป็นคุณธรรมที่ใหญ่ ที่จะรวมคุณธรรมอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้ ขอให้ท่านใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมในการทำหน้าที่ แล้วรู้ตื่นและเบิกบานในขณะที่ทำหน้าที่นั้น ๆ เพื่อชีวิตของท่านจะไม่ขุ่นมัว แม้แต่ขณะจิตเดียว และถ้าเพื่อเราเห็นว่า เราไม่ยอมให้ชีวิตของเราขุ่นมัวแม้ขณะเดียว เราจะเห็นทันทีเลย ว่าชีวิตของเราก็พ้นทุกข์อยู่ในขณะนั้นขอให้มีความสุขด้วยไม่ประมาท สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
อนวสฺสุตจิตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญญฺปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบเเล้ว
มีบุญเเละ บาปอันละได้เเล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย.
อธิบายความว่า บอกเขา คนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ นั่นน่ะ ถ้าอยากจะเห็นตัวบาปชัดๆ มีวิธีดู ให้ไปดูหน้าที่กระจกชัดๆ ที่เห็นในกระจกนั่นแหละ ตัวบาป หน้าใครหน้ามันละไม่ว่าบาปไม่ว่าบุญเวลาออกผลต้องใช้เวลาพอสมควร เช่น ปลูกกล้วยวันนี้ พรุ่งนี้ ได้กินกล้วยไหม ? ไม่ได้ รออีกเป็นเดือนๆ บางทีเกือบปี จึงจะได้กินกล้วย เช่นกัน ทำความดีวันนี้ ได้รับผลดีทันทีไหม ? ที่ได้รับทันทีเป็นผลภายในใจคือ ได้รับความ ชื่นใจ แต่จะให้สังคมยอมรับ หรือทำให้ลาภผลอะไรเกิดขึ้นต้องรออีกเป็นปี ต้องรอ ด้วยกันทุกคนเช่นเดียวกัน ทำบาปปุ๊บมันก็ได้ปั๊บเหมือนกัน คือ ใจขุ่นมัว และผลบาปจริงๆ จะ ตามมาทัน ก็ต้องรอเวลาอีกช่วงเหมือนกัน มันเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นคนที่มักง่าย ไม่ตรอง อะไรจริงๆ จังๆ ไม่ละเอียดสุขุมรอบคอบ ก็เลยมักจะทึกทักเอาว่า บุญไม่มี บาปไม่มี คนส่วนมากในโลกนี้ เมื่อเวลาคนอื่นทำชั่ว ก็อยากให้เขาได้รับผลชั่วทันที ซึ่งก็ดีเหมือนกัน สมมุติดูนะ ถ้าพอใครโกหกปุ๊บ ให้มันฟันหักหมดปากปั๊บเลย สงสัยที่นั่งอยู่บน ศาลานี้ คงไม่มีใครเหลือฟันสักซี่ แต่ถ้าเวลาตัวเราโกหก ปุ๊บ สาธุ .. ขอเราอย่าเพิ่ง ฟันหักเลย นี่คือเรา.. พอเราทำความดีปุ๊บ อยากจะให้เราได้ดีทันทีเลย ให้คนเขา ยกย่องเชิดชู ได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ลาภได้ผล อยากให้ได้ทันที แต่เวลาคนอื่นเขาทำ ความดี ในระยะยังไม่หมดกิเลส ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ก็ยังมีความสุขกาย สุขใจ ไม่ต้องทุกข์กายทุกข์ใจรักษา ศีล สมาธิ ด้วยปัญญาให้ดีแล้วจะทำให้ชีวิตของเราเจริญรุ่งเรืองตลอดไป.สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า.
สุสุขํ วต ชีวาม เวริเนสุ อเวริโน
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ วหาราม อเวริโน.
ในหมู่มนุษย์ผู้มีเวรกัน เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ ในหมู่มนุษย์
ผู้มีเวรกัน เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ เราจึงเป็นอยู่อย่างเป็นสุขดีหนอ.
อธิบายความว่า การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เป็นที่มั่นใจในศีลขอตนเองอาศัยปัญญา ปัญญาเป็นเครื่องชำระศีลให้บริสุทธิ์ ศีลนั้นแม้จะเป็นเลิศ ทำให้ปลอดภัย มีความสุขกายสุขใจได้ก็อยู่ในระดับกำลังของศีลเท่านั้น เพราะศีลเป็นเพียงเบื้องต้น เป็นเครื่องป้องกัน กำจัดได้เฉพาะกิเลสอย่างหยาบมีทุจริตทางกาย ทางวาจา ปิดกั้นทุคติภูมิ เปิดทางนำไปสู่สุคติภูมิเท่านั้น ศีลเป็นเครื่องอบรมจิตเบื้องต้นทำจิตให้มีหลัก หนักแน่นเป็นสมาธิที่จะดำเนินไปสู่ระดับต้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี ส่วนผู้ที่สมบูรณ์ด้วยปัญญา พร้อมทั้งศีลและสมาธิเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอริยคุณขั้นสูงสุด คือพระอรหันต์ ปัญญาจึงเป็นคุณขั้นอุดม
สรุปความว่า พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พระองค์ตรัสปัจฉิมวาจานี้ไว้ เราจะต้องให้ความสำคัญเหมือนกับเป็นวาจาสั่งเสียของพ่อแม่ เพราะทรงเป็นพระบิดาของพระศาสนาทั้งหมด วาจาที่ตรัสเตือนให้ไม่ประมาทนี้ จะต้องนำมาประพฤติปฏิบัติกันอย่างจริงจัง” อันที่จริงปัจฉิมวาจาของพระพุทธองค์นั้น ทรงเตือนในหลักธรรมสองประการ ประการแรกคือความว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา” ซึ่งหมายถึงหลักอนิจตา คือความเป็นของไม่เที่ยง หรือภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่ ส่วนหลักธรรมประการที่สอง คือความไม่ประมาท อันที่จริงเมื่อพิจารณาให้ดี จะเห็นได้ว่า หลักธรรมทั้งสองประการนี้มีความเกี่ยวพันกันอยู่ กล่าวคือ เมื่อเรารำลึกอยู่เสมอว่า สรรพสิ่งและสภาวะต่างๆ ล้วนไม่เที่ยง ล้วนไม่คงที่ฉะนั้นเราอย่าตั้งอยู่ในความประมาท เพราะความประมาททำให้ยึดติดมั่นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมั่นคงแน่นอนทั้งนั้น ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงและดับสูญไปในที่สุด สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า.
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ
มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตของตน.
มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ฯ.
ธรรมศึกษา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สอบธรรมศึกษาอย่างไร ถึงจะสอบผ่าน