วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ธ.ศ.โท

สุภาษิตตั้ง (เข้ากลางหน้ากระดาษ)

คำแปล (เข้ากลางหน้ากระดาษ)



บทนำ บัดนี้ จักได้อธิบายขยายความตามพุทธศาสนภาษิตที่ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็น

แนวทางในการศึกษาและปฏิบัติแก่พุทธศาสนิกชนสืบต่อไป

อธิบายสุภาษิตตั้ง .........................................................(๑๐ - ๑๕ บรรทัด )...........

........... สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน...... (ที่มาของศาสนสุภาษิตเชื่อม ) ว่า

( พุทธศาสนสุภาษิตเชื่อม ครั้งที่ ๑ )

คำแปล

อธิบายสุภาษิตเชื่อม.....................................................( ๗- ๑๐ บรรทัด)...............

............สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน...... (ที่มาของศาสนสุภาษิตเชื่อม ) ว่า

( พุทธศาสนสุภาษิตเชื่อม ครั้งที่ ๒)

คำแปล

อธิบายสุภาษิตเชื่อม.....................................................( ๗- ๑๐ บรรทัด)...............

...........................................................................................................

สรุป.......( ๕ - ๘ บรรทัด ).....................................................................................

......................................สมดังสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นว่า

พุทธศาสนสุภาษิตตั้ง

คำแปล

ดังได้อธิบายมาด้วยประการ ฉะนี้

(ธรรมศึกษาชั้นโท กำหนดให้เขียน ๓ หน้ากระดาษเว้นบรรทัดขึ้นไป)

โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน

ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี

ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่สิ้นวันเดียว ประเสริฐกว่า.


ณ บัดนี้จักได้บรรยายขยายความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการ

ศึกษาและนำไปปฏิบัติสืบต่อไป

คำว่า “ ผู้มีปัญญาทราม ” คือ ผู้โง่เขลา มีใจประกอบด้วยอวิชชา ไม่รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะความ

เป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่รู้ในหลักของชีวิตว่าเป็นตามหลักของไตรลักษณ์ คือ หลงเข้าใจว่า ชีวิต และสรรพสิ่งทั้งปวง

เป็นของเที่ยง มีความเป็นอยู่อย่างจีรังยั่งยืน ทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้มีความ

ยึดถือในเรื่องของตัวตน หลงยึดมั่นในชีวิตและสิ่งทั้งปวงว่าเป็นของเรา เมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง

สภาพไปไม่เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ จึงทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจ ไม่สามารถยอมรับถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้

อีกประการหนึ่ง คนโง่เขลานั้น มีลักษณะประมาทในการทำดี มีแต่ประกอบกรรมที่ยังตนและคนอื่นให้เดือดร้อน

ต่างจากคนที่มีปัญญา ซึ่งเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต มองเห็นการทำความดี มีผลเป็นความสุข หลีกเลี่ยงการทำชั่ว

ปวง ดังนั้นบัณฑิตจึงใช้ชีวิตต่างจากคนที่ไม่มีปัญญาเพราะเล็งเห็นผลที่เกิดขึ้น สมดังพุทธภาษิตที่มาใน สังยุตต

นิกาย สคาถวรรค ว่า

ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ

กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น

ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว.

คำว่า " ผล " ในที่นี้คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำหรืออะไรก็ตามที่ต่อเนื่องมาจากเหตุ ท่านเปรียบเสมือน

กับชาวนา เมื่อหว่านข้าวลงในนา ย่อมได้รับผลคือ ข้าวนั่นเอง หรือชาวสวนที่ปลูกผลไม้ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง ลำใย

ทุเรียน กล้วย ผลที่ได้ก็จะเป็นมะม่วง ลำใย ทุเรียน กล้วย ตามต้นที่ปลูก อุปมานี้ฉันใด การทำกรรมก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ใครทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ใครทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว ผลของการกระทำที่เกิดขึ้นนั้นก็มาจาก

เหตุแห่งการกระทำที่ตนได้ทำแล้วนั่นเอง ดังนั้นบุคคลผู้รู้ทั้งหลายจึงยินดีในการบำเพ็ญความดี ยินดีที่จะฝึกตน

อย่างคนไม่ประมาท คอยประคับประคองจิตของตนไม่ให้ตกไปในอำนาจของบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย สมดังพุทธ

ภาษิตที่มาในขุททกนิกาย ธรรมบทว่า

อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ

ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร

ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน

จงถอนตนจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้น ฉะนั้น.

ความว่า ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท ในที่นี้ท่านหมายถึง การดำรงชีวิตอยู่อย่างรอบคอบ

มีสติคอยระวังไม่ให้จิตอยู่อย่างปราศจากสติ ไม่ประมาทในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต เป็นต้น นอกจากนี้

พระพุทธองค์ทรงสอนไม่ให้ประกอบความประมาท คือไม่ให้หลงไปในหลุมพรางของอำนาจความยินดีในกาม คือ

ไม่ให้ปล่อยใจไปตามอารมณ์ที่ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพราะถ้าไม่สามารถควบคุมความต้องการทางอารมณ์

ได้ย่อมก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ดังนั้นผู้มีปัญญาทั้งหลายจึงรู้จักเพ่งพินิจเห็น

โทษของกามคุณ สิ่งยั่วยุทั้งหลาย ว่าเป็นสาเหตุให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น ตั้งจิตอยู่ในกุศล

ธรรม ย่อมได้รับความสุขตามที่ตนเองปรารถนา

สรุปความว่า คนไม่มีปัญญา ย่อมมีชีวิตอยู่อย่างผู้ประมาท มีชีวิตอยู่เพื่อทำความเดือดร้อนฝ่ายเดียว

ยิ่งมีชีวิตอยู่นาน ยิ่งสร้างบาปอกุศลกรรมไว้มาก ซึ่งต่างจากผู้มีปัญญา แม้อยู่เพียงวันเดียว ก็ประเสริฐกว่าคนไม่มี

ปัญญา เพราะคนมีปัญญา มีชีวิตอยู่อย่างผู้ไม่ประมาท รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร ประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติ เว้นสิ่ง

ที่ควรเว้น เป็นผู้เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริง บำเพ็ญคุณงามความดี ย่อมมีชีวิตอยู่เพื่อประโยชน์

สุขตนและคนอื่น สมดังสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นว่า

โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน.

ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี

ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่า.



ดังพรรณนามาฉะนี้แล ฯ



ธรรมศึกษา

2 ความคิดเห็น:

  1. วิชาที่ต้องทำให้ได้ คือ วิชาเรียงความแก้กรทู้ธรรม ถ้ารู้ตัวว่า เขียนไม่ได้ตามที่กฎกำหนดไว้ วิชาอื่นก็ไม่ต้องสอบ

    ตอบลบ
  2. หรือว่าท่านว่าอย่างไร

    ตอบลบ

สอบธรรมศึกษาอย่างไร ถึงจะสอบผ่าน